โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำริว่า
“… หากสามารถสนับสนุนให้นักวิจัยไทยได้เดินทางไปทำงานวิจัยที่ขั้วโลกใต้อย่างสม่ำเสมอก็จะยังประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ...”
![]() |
แอนตาร์กติกา : หนาวหน้าร้อน
|
|
![]() |
พ.ศ. 2547 รองศาสตราจารย์ ดร.วรณพวิยกาญจน์ นักวิทยาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้เดินทางไปทำงานวิจัยที่สถานีวิจัยโชว์วะ (Syowa Station) ซึ่งเป็นสถานีวิจัยของประเทศญี่ปุ่น ณ ทวีปแอนตาร์กติก โดยการประสานงานของ สวทช.กับสถาบันแห่งชาติเพื่อการวิจัยขั้วโลก ของญี่ปุ่น (National Institute of Polar Research, Japan) และ ต่อมา พ.ศ. 2552 รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เดินทางไปกับคณะสำรวจ ของญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน ![]() รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์
|
|
รองศาสตราจารย์ ดร.วรณพวิยกาญจน์ |
การเริ่มต้นโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินงานของสำนักงานบริหารกิจการทางทะเล (State Oceanic Administration)
ณ กรุงปักกิ่ง และสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (Polar research Institute of China) ณ นครเซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 8 และ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 ตามลำดับ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนทนากับนักวิจัยจีนซึ่งทำงานที่ขั้วโลกใต้ขณะนั้นผ่านทางระบบการประชุมทางไกล และทอดพระเนตร
เรือตัดน้ำแข็งXuelong (Snow Dragon) ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากขั้วโลกใต้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ในเรื่องการวิจัยขั้วโลก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ได้รับสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระราชดำริให้
นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลกร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสานงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ขั้วโลกของประเทศไทย
โดย สวทช. ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับหน่วยงานขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้(Chinese Arctic and Antarctic Administration: CAA)
สังกัดสำนักงานบริหารกิจการทางทะเล เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ในการดำเนินโครงการฯ บริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ได้สนับสนุน
งบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมสำรวจขั้วโลกกับ CAA ในส่วนที่ประเทศไทยต้องรับผิดชอบ ได้แก่ ค่าเดินทางและค่าที่พักของนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์
ค่าขนส่งตัวอย่างกลับมาทำวิจัยในประเทศไทย รวมทั้งค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ระยะเวลา 5 ปี
หน่วยงานร่วมดำเนินการ
![]() |
สนับสนุนโดย บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด บริษัทในกลุ่มธุรกิจกระทิงแดง |