resize ุข้อมูลเผยแพร่ - มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

     เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ : สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยัง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทอดพระเนตรความก้าวหน้าโครงการเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ หรือ โมบีสแกน (MobiiScan) ที่พระราชทานให้ศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ทพญ.วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ. อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รศ.ดร.ทพ.พูนศักดิ์ ภิเศก ผู้อำนวยการศูนย์ตะวันฉาย คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักวิจัยจากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. เฝ้ารับเสด็จ



     จากนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปยังบริเวณจัดแสดงนิทรรศการทอดพระเนตรนิทรรศการ อาทิ ผลการดำเนินงานของศูนย์ตะวันฉาย ผลการใช้งานเครื่องโมบีสแกน ผลการพัฒนากระดูกเทียมสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นต้น



     โดยศูนย์ตะวันฉาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ ณ อาคารคลินิกทันตกรรม 1 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การดำเนินงานอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งศูนย์ตะวันฉายเป็นศูนย์กลางในการให้บริการตรวจประเมิน ดูแล รักษาผ่าตัด และฟื้นฟูสภาพ ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภูมิภาคใกล้เคียง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสองคณะสำคัญที่ร่วมดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยมีศูนย์ตะวันฉายเป็นศูนย์กลางในการประสานงานหลัก ทำงานร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งหมด ๑๔ สาขา และมีแนวทางที่ใช้ปฏิบัติร่วมกัน (Protocol) ในการดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ได้รับการรักษาครบถ้วนตามช่วงอายุ และเพื่อให้ได้รับการแก้ไขความพิการของใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ให้มีรูปลักษณ์ใบหน้าที่ใกล้เคียงเป็นปกติและสมบูรณ์แบบมากที่สุดล

     สำหรับการศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ของประเทศไทยพบเฉลี่ย ๑.๖๒ ต่อ ๑,๐๐๐ ของทารกแรกเกิดมีชีพ โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า มีอุบัติการณ์สูง ๑.๙๓ รายต่อเด็กแรกเกิด ๑,๐๐๐ ราย ศูนย์ตะวันฉาย จึงเป็นศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีหน้าที่หลักในการให้บริการตรวจรักษา ผ่าตัด ฟื้นฟู และป้องกันโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ฯ แก่ประชาชนทั่วไป ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น จากฐานข้อมูล DMIS ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาผ่าตัด ฝึกพูด และทันตกรรมจัดฟันมากที่สุดในประเทศ
ทั้งนี้ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในการดำเนินชีวิตต่างๆ ตามช่วงวัย ทั้งในด้านการดูแลรักษาเพื่อให้เกิดประสิทธิผลจนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ต้องอาศัยระยะเวลา ซึ่งบางรายต้องรักษาต่อเนื่องและยาวนานถึง ๒๐ ปี อีกทั้งครอบครัวและผู้ป่วยยังต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายทางตรง ได้แก่ ค่ารักษา ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารและผู้ดูแลคนป่วย รวมถึงค่าใช้จ่ายทางอ้อม ได้แก่ ค่าสูญเสียรายได้ ค่าสูญเสียโอกาสจากเวลาที่รักษา เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องอาศัยบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ ศัลยแพทย์ตกแต่ง ทันตแพทย์ ประสาทศัลยแพทย์ โสต ศอ นาสิกแพทย์ จักษุแพทย์ รังสีแพทย์ กุมารแพทย์ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลเชี่ยวชาญการให้นมเด็ก พยาบาลเชี่ยวชาญด้านการดูแลปากแหว่งเพดานโหว่ นักแก้ไขการพูดและนักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น



     ดังนั้น การดูแลรักษาด้านการแพทย์และด้านทันตกรรมแก่ผู้ป่วยภาวะดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์สามมิติ ซึ่งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติ ที่ติดตั้งอยู่ในโรงพยาบาลมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการใช้งาน ศูนย์ตะวันฉาย จึงได้ทำหนังสือถึงศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนเครื่อง MobiiScan ให้แก่ศูนย์ตะวันฉายจำนวน ๑ เครื่อง ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ ดำเนินการสนับสนุนเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติแบบเคลื่อนย้ายได้ (MobiiScan) และต่อมามูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหมโรงแรมเอราวัณ ได้บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ เพื่อสนับสนุนการสร้างเครื่อง MobiiScan และระบบแสดงผลภาพสามมิติผ่านคลาวด์ RadiiView (เรดีวิว) ให้แก่ศูนย์ตะวันฉายสำหรับใช้ในการตรวจประเมินรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า ซึ่งได้ติดตั้งใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาผู้ป่วยมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ มีผู้ได้รับการตรวจประเมินรักษาด้วยเครื่องดังกล่าวไปแล้วกว่า ๓๐ ราย

ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์
และฝ่ายประชาสัมพันธ์ สวทช.

    โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตั้งพระทัย จะช่วยพัฒนาคนพิการในประเทศไทยให้ยึดหลักการดำรงชีวิตอิสระ (Independent Living) ในการใช้ชีวิตประจำวัน การดำเนินงานจึงได้ส่งเสริมให้คนพิการและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และสามารถใช้ประโยชน์จากไอซีที และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ในการพัฒนาศักยภาพของคนพิการด้านต่างๆ เช่นการพื้นฟูสมถรรถภาพร่างการ การดำรงชีวิตประจำวันการศึกษาและการประกอบอาชีพตลอดจนสงเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้คนพิการได้ใช้งานในราคาที่ย่อมเยากว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการดังนี้

    1. โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสำหรับคนพิการ: เพื่อใช้ไอซีทีและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกมาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนพิการ ทั้งกลุ่ม นักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและออทิสติก นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

    2. โครงการช่วยเหลือกรณีพระราชทาน: เพื่อให้ความช่วยเหลือคนพิการ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ ในด้านต่างๆ ได้แก่ การฟื้นฟูสมรรถภาพการศึกษา และการประกอบอาชีพรวมถึงการสนับสนุนให้สภาพเศรษฐกิจของครอบครัวดีขึ้น โดยส่งให้จัดหาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองไม่เป็นภาระของครอบครัวและสังคมมาก ตัวอย่างโครงการ: โครงการพัฒนาการอ่านและเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยบัตรภาพคำศัพท์พหุภาษา

     ดำเนินการในโรงเรียนโสตศึกษานำร่อง 3 โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทร โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ และโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี โดยได้จัดทำสื่อบัตรภาพคำศัพท์พหุภาษา ที่มีรูปภาพประกอบคำศัพท์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจำนวน 2,000 คำในแต่ละบัตรภาพคำศัพท์มีภาพคิวอาร์โค้ดที่เชื่อมต่อไปยังวิดีโอ การสะกดนิ้วมือ และภาษามือคำศัพท์ภาพภาษาไทยในบัตรภาพคำศัพท์นั้น ๆ เพื่อให้นักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินสามารถเรียนรู้และเข้าใจการอ่านและเขียนคำศัพท์ผ่านการใช้แท็บเลทอ่านคิวอาร์โค้ดบนบัตรภาพคำศัพท์และแสดงผลเป็นวีดีโอภาษามือให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองบ่อยครั้งตามที่ต้องการ โดยได้รับการสนับสนุนการจัดทำวิดีโอภาษามือจากศูนย์บริการผลิตภาษามือ (SSMC) และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย)สนับสนุนอุปกรณ์และการจัดพิมพ์บัตรภาพให้แก่โรงเรียน ผลการจัดการเรียนการสอนพบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของการอ่านและเขียนคำศัพท์เพิ่มขึ้นสามารถอ่านและเขียนคำศัพท์ที่สอนได้ดีขึ้นมีความกระตือรือร้นในการเรียนมีสื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจสามารถเรียนรู้คำศัพท์ได้เร็วขึ้นมีความจำที่คงทนขึ้น

     สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชกระแสว่าควรจัดตั้งเป็น “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ” ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สวทช. และมูลนิธิฯ ทำนองเดียวกับที่เคยจัดตั้ง “ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” มาแล้ว และให้เชิญ ศ.กิตติคุณ นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ หัวหน้าศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมเป็นที่ปรึกษาของโครงการจัดตั้งศูนย์

     หลังจากนั้นได้มีการจัดประชุมหารือร่วมกันเรื่องโครงการจัดตั้งศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่หลายครั้งจนกระทั้งวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะเป็นส่วนงานในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดต่อประเทศชาติในการดูรักษาทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยแก่ผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะในเขต ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อศูนย์ดังกล่าวว่า

     “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมทั้งทอดพระเนตรนิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาและการดำเนินงานของศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ

การดำเนินงานของ “ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” แบ่งออกเป็น ๓ ด้าน ดังนี้
     ๑. ด้านเครือข่าย (Collaborative network) ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน การดําเนินงานด้านเครือข่ายใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดลำพูน จังหวัดพะเยาและจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานการรักษาผู้ป่วยภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างเครือข่ายให้เกิดความร่วมมืออย่างมั่นคงและยั่งยืน “Sustainable Collaborative Network” โดยทำการสร้างทีมการรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพ จากความร่วมมือกันของโรงพยาบาลและบุคลากรในเครือข่าย ทำให้ในปัจจุบันมีสหสาขาวิชาชีพที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและครบกระบวนการจำนวนทั้งสิ้น ๑๑๒ คน และมีโรงพยาบาลเครือข่ายครอบคลุม ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยประเภทและจำนวนของสหสาขาวิชาชีพที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลเครือข่าย ดังนี้

๒. ด้านการให้บริการผู้ป่วยของศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ

    การให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยมีการทำงานแบบ “Several Aspects” ซึ่งเป็นการร่วมการออกตรวจให้ บริการ ณ คลินิกรักษาปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์ และการบริการนำเข้าข้อมูลผ่านโปรแกรม Thai Cleft Link ซึ่งเป็นโปรแกรมเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยระหว่างศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ และโรงพยาบาลเครือข่ายต่าง ๆ ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ดูแลจิตใจและให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวผู้ป่วย กำกับดูแลและติดตามผู้ป่วยในเครือข่ายให้ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน (protocol) รวมไปถึงการลงพื้นที่เพื่อติดตามอาการผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้มีการจัดการประชุมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลผู้ป่วยระหว่างสหสาขาวิชาชีพ และเพื่อหาแนวทางการรักษาผู้ป่วยระหว่างสหสาขาวิชาชีพ โดยมีการประชุมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

     นับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ มีการให้บริการผู้ป่วยใน ๔ ด้าน คือ การบริการตรวจรักษา (คลินิกผู้ป่วยนอก) การบริการด้านการผ่าตัด การบริการด้านการฝึกพูดและการบริการด้านทันตกรรม โดยบูรณาการระบบฐานข้อมูลการบริการด้านทันตกรรมเข้ามาในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ รวมมีผู้ป่วยเข้ารับบริการจำนวนทั้งสิ้น ๖๑๔ คน (ไม่นับซ้ำ) คิดเป็นจำนวนให้บริการ ๙,๗๗๐ ครั้ง (ผู้ป่วยหนึ่งคนมารับบริการมากกว่า ๑ ด้าน และรับบริการแต่ละด้านมากกว่า ๑ ครั้ง) โดยเฉพาะปี พ.ศ. ๒๕๖๔ (ม.ค. - ธ.ค.) มีผู้ป่วยมารับบริการ จำนวน ๔๒๐ คน คิดเป็นจำนวนให้บริการ ๓,๔๓๕ ครั้ง ทั้งนี้ มีจำนวนผู้ป่วยสะสมที่อยู่ในฐานข้อมูลโปรแกรม Thai Cleft Link ที่มารับบริการที่ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ และโรงพยาบาลเครือข่ายใน ¬¬๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน รวมจำนวน ๑,๙๕๙ คน

     ๓. ด้านการใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนและวางแผนการรักษาผ่าตัด ศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ได้นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาก่อนการผ่าตัดในกลุ่มโรคความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ (Craniofacial disease) และในกลุ่มโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งบริเวณขากรรไกรล่าง (Mandibular cancer) และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้า (Traumatic injury) เป็นต้น ร่วมกับทีมศัลยแพทย์ตกแต่ง และแพทย์ โสต ศอ นาสิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อช่วยให้ทีมแพทย์ สามารถวางแผนก่อนการผ่าตัด ทำให้ลดความคลาดเคลื่อนของการผ่าตัด และช่วยลดระยะเวลาในการผ่าตัด ผลการใช้นวัตกรรมมีดังนี้

- เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ๓ มิติ แบบเคลื่อนย้ายได้ (MobiiScan) มีการใช้งานเครื่อง MobiiScan ผลงานวิจัยของ สวทช. ในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ตั้งแต่เปิดศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๔ รวมจำนวน ๘๖ ครั้ง ที่ผ่านมาใช้เครื่อง MobiiScan ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เครื่องตั้งอยู่ที่คณะทันตแพทยศาสตร์) ซึ่งเป็นเครื่องแรกที่ สวทช. นำไปติดตั้งเพื่อสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาผู้ป่วย

- การวัดและออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computing Design) มีการออกแบบและวางแผนการรักษาก่อนการผ่าตัดผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น การวัดขนาดและปริมาตรของรูโหว่จาก DICOM File นับตั้งแต่เปิดศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๔ รวมจำนวน ๘๒ ครั้ง เช่น การวางแผนก่อนการผ่าตัดทำ Fronto-orbital advancement การขยายกะโหลกศีรษะเพื่อให้สมองมีพื้นในการขยายตัวและเจริญเติบโตในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของกะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ (Craniosynostosis) เป็นต้น

- การขึ้นรูปแบบจำลองสามมิติด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Model Printing) มีการสร้างแบบจำลอง ๓ มิติ เพื่อใช้วางแผนการรักษาก่อนการผ่าตัดผู้ป่วย ตั้งแต่เปิดศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๔ รวมจำนวน ๔๑ ครั้ง การดำเนินการรักษาผู้ป่วยที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะที่ผ่านมา มีการใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในการวินิจฉัยและวางแผนก่อนการผ่าตัดรักษาผู้ป่วย เช่น การออกแบบเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ผิดปกติสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณขากรรไกรล่างเพื่อที่จะสามารถนำไปดัดเพลทได้เหมาะสมและใกล้เคียงกับรูปทรงกระดูกขากรรไกรเดิม ก่อนติดแผ่นเพลทดามกระดูกให้ผู้ป่วย โดยผู้ป่วยได้รับการวัดและออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และได้รับการขึ้นรูปแบบจำลองสามมิติด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติก่อนการผ่าตัดรักษา 📡

   ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. ได้พัฒนา “ระบบถอดความเสียงพูดแบบทันต่อเวลาผ่านระบบสื่อสารทางไกล” ซึ่งโปรแกรมถอดความเสียงนี้จะช่วยแปลงเสียงพูดให้เป็นข้อความ โดยจะต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะในการถอดความเสียง มาทำหน้าที่ถอดความเสียงพูดแบบทันต่อเวลาผ่านระบบสื่อสารทางไกล โปรแกรมนี้จะเป็นศูนย์กลางในการจัดส่งไฟล์เสียงไปยังเจ้าหน้าที่ถอดความเสียง แล้วนำข้อความจากเจ้าหน้าที่ถอดเสียงจากหลายคน มารวบรวมเป็นข้อความเดียวกัน

   ในปี พ.ศ.2562 สวทช. ร่วมกับ มูลนิธิฯ และทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิงจัดทำ “โครงการฝึกถอดความเสียงพูดเพื่อพัฒนาทักษะด้านการถอดความเสียงพูดแก่ผู้ต้องขัง” เพื่อเตรียมบุคลากรรองรับงานถอดความเสียงรายการโทรทัศน์ที่จะต้องมีคำบรรยายแทนเสียงแบบเปิด/ปิดได้ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะในการถอดความเสียงและรับงานเป็นวิชาชีพในทัณฑสถานอีกอาชีพหนึ่ง (ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ ให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ ประกาศ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559) ในการดำเนินงาน มูลนิธิฯ จัดหาชุดคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในโครงการฯ จำนวน 10 ชุด ทางทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิงคัดเลือกผู้ต้องขังเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 20 คน สวทช. ได้ฝึกทักษะการถอดความเสียง 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ทดสอบการพิมพ์สัมผัสตามตัวอักษรบนหน้าจอผ่านโปรแกรม RevivaType ระยะที่ 2 ทดสอบการสะกดคำในภาษาไทย และระยะที่ 3 ทดสอบการพิมพ์ถอดความเสียงพูด หลังจากฝึกทักษะครบ 3 ระยะแล้ว สวทช. ได้คัดเลือกผู้ต้องขังโดยพิจารณาจากความถูกต้องของข้อความและความเร็วในการพิมพ์ โดยคัดเลือกผู้ต้องขังจำนวน 10 คน (จาก 20 คน) จากนั้นผู้ต้องขังได้ฝึกสะกดคำยากและคำทับศัพท์ โดยอ้างอิงตามโปรแกรมพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 และฝึกการถอดความเสียงจากไฟล์เสียงของการเรียนการสอนในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

   ในปี พ.ศ.2563 – 2565 สวทช. ดำเนินการจ้างผู้ต้องขังในการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงซึ่งเป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินและผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางการได้ยิน สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เนื้อหาในการเรียนการสอน การประชุมสัมมนา และรายการโทรทัศน์ได้ด้วยการอ่านข้อความที่ได้จากการถอดความแทนการฟังเสียง โดย สวทช. ได้ส่งงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ซึ่งเป็นการเรียนการสอนในหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศแบบเรียนร่วมระหว่างนักศึกษาปกติและนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ในการเรียนการสอนจะจัดให้มีบริการคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลา เพื่อให้นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถติดตามเนื้อหาวิชาในระหว่างการเรียนการสอนได้ นอกจากนี้ ยังได้บันทึกวิดีโอการเรียนการสอนเพื่อให้ทบทวนบทเรียนย้อนหลังได้ โดยมีคำบรรยายแทนเสียงแบบทันต่อเวลา

   สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานห้องเรียนไอทีสำหรับเด็กป่วยในโรงพยาบาล โดยมีพระราชดำ ในการใช้ไอซีที่เพื่อให้เด็กป่วยในโรงพยาบาลได้เรียนและเล่นอย่างมีความสุข ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล ให้ได้รับโอกาสการศึกษาต่อเนื่องและเท่าเทียมผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพบุคลากรการแพทย์และครูให้มีทักษะในการดูแลเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล

เด็กที่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ หรือพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็น เวลานานมักจะเรียนไม่ค่อยทันเพื่อน บางรายถึงกับต้องซ้ำชั้น เด็กเหล่านี้ อาจเบื่อหน่าย ซึมเศร้า ดังนั้น การดูแลจึงไม่ใช่เพียงรักษาโรค ต้องช่วย เยียวยาสภาพจิตใจให้มีความสุข พร้อมไปกับช่วยให้เด็กได้รับการศึกษา อย่างเหมาะสมกับวัย ห้องเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยถือกำเนิดขึ้นจากพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนและการสร้างความสุขให้แก่เด็กป่วย ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระของครูในโรงพยาบาลที่มีจำนวนไม่เพียงพออีกด้วย
    ครูในโรงพยาบาลแต่ละแห่งได้เลือกใช้วิธีการต่างๆ ตามสภาพที่เป็นจริง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เด็กป่วยและญาติพี่น้องของเด็กมากที่สุด อาทิเช่น
      - โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี มีเด็กเล็กจำนวน มากป่วยเป็นโรคทางกระดูกและข้อ ทำให้ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ ครูจะ นำสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ไปสอนที่ข้างเตียง
      - โรงพยาบาลขอนแก่น มีเด็กป่วยเป็นโรคเลือดและมะเร็ง ทำให้ต้อง พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ครูจะจัดกิจกรรมที่เน้นการมี ส่วนร่วมกับพ่อแม่ ชุมชน รวมทั้งกิจกรรมทางศาสนา
      - โรงพยาบาลหาดใหญ่ มีเด็กและญาติที่มาจากกลุ่มจังหวัดชายแดน ภาคใต้ จึงจัดสอนภาษาไทยให้ นอกจากนี้ยังมีครูจากศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียนมาช่วยฝึกอาชีพให้แก่ผู้ปกครองอีกด้วย
    เด็กชายคนหนึ่งมีปัญหาสุขภาพ อีกทั้งพ่อแม่แยกทางกัน ผู้เลี้ยงดู คือตายายซึ่งมีฐานะยากจน จึงเรียนได้เพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ แต่ เมื่อได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเข้าเรียนในห้องเรียนเพื่อเด็กป่วย มีครู ดูแลอย่างใกล้ชิด และสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI: Computer-Aided Instruction) เป็นเวลา ๑ ปี ปรากฏว่าเด็กใช้คอมพิวเตอร์เป็นและมีพัฒนาการด้านวิชาการดีขึ้น ที่สำคัญคือ มีสภาพจิตใจดีขึ้น จนใน ที่สุดเด็กบอกกับครูว่าต้องการกลับไปเรียนในโรงเรียนที่เคยเรียน และก็ได้ กลั่บไปเรียนต่ออีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือจากครู และพยาบาลที่ช่วย ประสานงานกับโรงเรียนให้

    เด็กอีกคนป่วยด้วยโรคทางสมอง ทำให้มองเห็นและได้ยินไม่ชัดเจน ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์การศึกษาพิเศษ จนสามารถช่วยเหลือ ตนเองได้และมีสภาพจิตใจดีขึ้น ห้องเรียนเพื่อเด็กป่วยยังได้มอบคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตซึ่งมีโปรแกรมขยายตัวอักษร รวมทั้งเลนส์ขยายสำหรับการอ่านจาก ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และประสานงาน ให้เด็กได้เรียนในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กคน.) จนเด็กเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบอกครูว่าตนจะตั้งใจเรียนจนจบ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป

    ครูน้ำเพชร เพชรมนต์ ทำงานอยู่ที่ศูนย์การเรียนเพื่อเด็กป่วย ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช กล่าวว่า "สิ่งที่รู้สึกประทับใจใน การทำงานนี้ก็คือ การที่เด็กป่วยได้รับการฟื้นฟูร่างกายในทางที่ดีขึ้น จนสามารถ ทำกิจกรรมและส่งเข้าประกวดในโครงการต่างๆ ของรงพยาบาลได้ นอกจากนี้ การที่เด็กป่วยที่ต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือนสามารถกลับ ไปเรียนร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่นของตนเองได้ และกลับมาบอกคุณครูว่าสอบผ่าน เลื่อนชั้นได้แล้ว ทำให้ครูรู้สึกภูมิใจอย่างมาก"

    ความสำเร็จเช่นนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้อุปกรณ์และสื่อการสอน ที่ทันสมัยเป็นเครื่องมือช่วย ไม่ว่าจะเป็นคอมผิวเตอร์ แท็บเล็ต และโปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน แต่หัวใจสำคัญคือ การที่ครูทุ่มเทแรงกายแรงใจ อย่างเต็มที่ ทำให้ห้องเรียนเพื่อเด็กป่วยสามารถพลิกฟื้นชีวิตของเด็กๆ ให้กลับ มาสุดใสอีกครั้ง

หมวดหมู่รอง