resize โครงการความร่วมมือกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) เพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริ - มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

โครงการความร่วมมือกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences: CAS)

เพื่อพัฒนากำลังคนและการวิจัยพัฒนาตามพระราชดำริ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำริให้ศึกษาแนวทางความร่วมมือ
เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ โดยขยายความสัมพันธ์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่ยังมีความขาดแคลนอยู่

หน่วยงานร่วมดำเนินการ

 

สำนักงาน ก.พ. ได้สนองพระราชดำริเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศทั้งสองโดยจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือฯ ดังกล่าวระหว่างสำนักงานก.พ.และ Graduate University of the Chinese Academy of Sciences (GUCAS) (ในปี พ.ศ. 2552 กูแคสได้เปลี่ยนชื่อเป็นยูแคส (UCAS : University of Chinese Academy of Sciences))  อ่านต่อ

ITER: International Fusion Energy Organization

รูปที่ 1: ดวงอาทิตย์อาศัยพลังงานฟิวชัน

มนุษย์เราเฝ้ามองเห็นดวงอาทิตย์มาเป็นเวลาหลายหมื่นปี ความฝันของมนุษย์อย่างหนึ่งคือการสร้างดวงอาทิตย์บนโลกเพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สิ้นสุดของเรา แนวความคิดอันสุดแสนอัศจรรย์และท้าทายนี้สร้างแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจำนวนมากให้ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการพัฒนาพลังงานที่ไม่สิ้นสุดนี้หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “พลังงานฟิวชัน” มนุษย์ได้รู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานฟิวชันมาร่วม 1 ศตวรรษ มีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายมุมโลก ก่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมนิวเคลียสอุณหภูมิสูงที่มากขึ้นเรื่อยๆและเข้าใกล้การพัฒนาไปสู่การใช้งานจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลักการนั้นพลังงานฟิวชันเกิดจากปฏิกิริยาการหลอมรวมนิวเคลียสหรือที่เรียกว่า “พลาสมา” โดยนิวเคลียสของธาตุขนาดเบารวมตัวกันเป็นนิวเคลียสของธาตุที่มีขนาดหนักขึ้น และในระหว่างทางจะมีการปลดปล่อยพลังงานจำนวมหาศาลออกมาด้วย โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาฟิวชันจะปลดปล่อยพลังงานมากกว่าปฏิกิริยาเคมีทั่วไปหลายล้านเท่าเลยทีเดียว ตัวอย่างของการเกิดพลังงานฟิวชันในธรรมชาติ คือ การหลอมรวมของไฮโดรเจนในดวงอาทิตย์นั้นเอง ซึ่งพลังงานฟิวชันนี้ได้ขับเคลื่อนดวงอาทิตย์ให้ส่องสว่างและให้ความอบอุ่นกับโลกของเราและเหล่าดาวเคราะห์บริวารมานานหลายพันล้านปี จุดเด่นของพลังงานฟิวชันคือไม่มีการปล่อยก็าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศจึงถือว่าเป็นพลังงานสะอาดที่เหมาะสมกับธรรมชาติ และมีข้อดีอีกอย่างคือไม่มีกากกัมตรังสีหลงเหลือให้ต้องจัดการจึงมีความสะดวกและปลอดภัยสูง อีกทั้งเชื้อเพลิงก็มีอยู่เป็นจำนวนมากและสามารถหาได้ทั่วไปจากน้ำทะเล อ่านต่อ

(Chinese Academy of Sciences: CAS)