โครงงานสมองกลฝังตัว

  • หน้าหลัก
  • อิคคิวซัง
    • ปีการศึกษา 2562
    • ปีการศึกษา 2561
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
    • ปีการศึกษา 2558
    • ปีการศึกษา 2557
    • ปีการศึกษา 2556
  • ทสรช.
    • ปีการศึกษา 2562
    • ปีการศึกษา 2561
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
  • สถานพินิจ
    • ปีการศึกษา 2562
  • โรงเรียนคนพิการ
    • ปีการศึกษา 2562
  • มหาวิทยาลัย
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
  • STEM ปี 2560
  • Show&Share2022
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อศึกษาและดูแลสิ่งแวดล้อม
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน
    • โครงงานลิฟต์
    • รายชื่อผู้เข้าแข่งขันอื่นๆ

Category Archives: ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

AB18 โครงงาน เครื่องตรวจนับผู้เข้าใช้บริการห้องสมุดพร้อมระบบปิด-เปิดไฟฟ้าพัดลม อัตโนมัติ(ห้องสมุด อัจฉริยะ) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 4, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงาน เครื่องตรวจนับผู้เข้าใช้บริการห้องสมุดพร้อมระบบปิด-เปิดไฟฟ้าพัดลม อัตโนมัติ(ห้องสมุด อัจฉริยะ)
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

ผู้จัดทำ
นายบุญยฤทธิ์ สิริธำรงรัชต์
นายธีรศักดิ์ วงศ์พิพันธ์
นายจีรวัฒน์ โกศัยพัฒน์

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นายชนะ เกลี้ยงทอง
นางสุพัตรา ชูลิกร

สถานศึกษา :

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๙ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความเป็นมา

ปัจจุบันเทคโนโลยี Internet of Things กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องในยุคโลกาภิวัตน์ทาง คณะผู้จัดทำได้มีความคิดว่าควรจะนำเทคโนโลยีส่วนนี้มาประยุกต์ใช้ใน โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ ห้องสมุดในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ บริการในการสืบค้นข้อมูลในด้านต่างๆ ซึ่งแต่ละวันมีนักเรียนเข้าใช้บริการจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการจัดเก็บข้อมูลจำนวนนักเรียนที่เข้าใช้บริการห้องสมุดในแต่ละวันและสามารถนำมาเป็นข้อมูลระบบสารสนเทศของโรงเรียนเพื่อรองรับการประเมินและจัดหาหนังสือในการให้บริการ

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

 

Clip VDO 

 

โปสเตอร์ (PDF)

 

AA26 โครงงานเครื่องพิชิตยุง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร มัธยมศึกษาตอน ต้น

Posted on December 4, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงาน เครื่องพิชิตยุง
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ต้น
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

ผู้จัดทำ
เด็กหญิงณัฐวดี คำศรีพล
เด็กหญิงธีรนุช เพชรรักษา
เด็กหญิงพิชชาภา นาคีย์

อาจารย์ที่ปรึกษา:
นายสานิต โลบภูเขียว
นายณัฐพล วงษ์ยอด
นายเอกทัศน์ มูลมณี

สถานศึกษา :

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร

ความเป็นมา

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร เป็นโรงเรียนประจำ ซึ่งนักเรียนอยู่ประจำ ในฤดูฝนมียุงเป็นจำนวนมาก ที่เกิดจากการที่ยุงวางไข่ในแหล่งน้ำขัง ซึ่งจำนวนของยุงที่มีมากขึ้นนั้นอาจเสี่ยงต่อการกัดนักเรียนแล้วทำให้เป็นไข้เลือดออกได้ และถ้ามีการ ดังนั้นผู้จัดทำจึงคิดค้น ทำเครื่องพิชิตยุง ที่สามารถสร้างขึ้นได้ง่าย ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาใช้ในการกำจัดยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ที่จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนอยู่ได้แบบปกติไร้โรค หรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดจากยุง

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

AB21 โครงงาน Wheelchair Safety (ไม้เท้าคนตาบอดอัจฉริยะ) โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ (ม.ต้น)

Posted on December 4, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงาน Wheelchair Safety ไม้เท้าคนตาบอดอัจฉริยะ
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ต้น
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

ผู้จัดทำ
นายจิระ เอนกอรัญ
นายเก่ง ลุงคำ
นายนรวิชญ์ สุใจ

อาจารย์ที่ปรึกษา:
นายพงศ์ชัย เชยโต
นายยงยุทธ คำอ้วน

สถานศึกษา :

โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่

ความเป็นมา

 

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

 

Clip VDO 

 

โปสเตอร์ (PDF)

 

AB42 โครงงาน R.C.P. ก้าวที่ดี โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จังหวัดกระบี่ มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 3, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงาน R.C.P. ก้าวที่ดี
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

ผู้จัดทำ

นางสาวปานทิพย์ แก้วหนูนวล
นางสาวอัญชลี พรหมจันทร์
นางสาวกมลรัตน์ บุญเฟื่อง

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นายนพดล พุทธพฤกษ์
นางสาวเสาวภา โสดา
นายกิตติภัฎ กมลานันทวงศ์

สถานศึกษา :

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จังหวัดกระบี่

ความเป็นมา

 

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

 

VDO

 

โปสเตอร์ (PDF)

 

AB43 โครงงานการควบคุมอุณภูมิเห็ดนางฟ้า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๕ จังหวัดแพร่

Posted on December 3, 2022 by hrh Posted in News & Contest, ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงานการควบคุมอุณภูมิเห็ดนางฟ้า

ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

 

ผู้จัดทำ

นายธนาวุฒิ ว่านวัฒนกุล
นายธนดล ปุ๊ดเงิน
นางสาวปราณี สุนิธิ

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นางสาวศศิธร รัตนชมภู
นายปิยวัฒน์ แสงโยธา

สถานศึกษา :

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๕ จังหวัดแพร่

ความเป็นมา

เห็ดนางฟ้าฏฐานจัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกหนึ่งที่เป็นที่นิยมบริโภคของบุคคล ทั่วไป เป็นเห็ดที่เพาะง่ายมีอายุการพักเชื้อที่สั้น เพาะได้เกือบทุกฤดู ยกเว้นในช่วง ฤดูร้อน เพราะเห็ดชอบอากาศเย็นขึ้น ในการเพาะเห็ด นางฟ้าฏฐานนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะเป็นวัสดุที่ให้ผลผลิตสูงและเก็บ ผลผลิตได้นาน เฉลี่ย ประมาณ ๔ เดือน และมีวิธีการเพาะที่ง่าย คุ้มทุน อีกทั้งยังดูแลรักษาง่ายนอกจากขี้เสื่อยไม้ยางพารา ยังมีวัสดุอีกหลายอย่างที่สามารถนำมาเพาะได้ เช่น ฟางข้าวในการวางแผนการผลิตเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้เพาะเลี้ยงเห็ดควรเข้าใจสภาพอากาศที่มีต่อการเจริญของเห็ดแต่ละพันธุ์ เห็ดนางฟ้าฏฐานเป็นเห็ดที่เพาะง่ายสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปีส่วนเห็ดนางฟ้านั้นจะออกดอกได้ดีเมื่อสภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ดังนั้นการผสิตเห็ดนางฟ้าจะผลิตก้อนเห็ดในช่วงปลายฤดูฝน เพื่อให้ได้ผลผลิตในฤดูหนาว ซึ่งเห็ดนางฟ้าฏฐานจริญเติบโตได้ในสภาวะอากาศเย็นมากกว่าร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ๒๕ – ๒๘ องศาเซลเซียส และไม่เกิน ๓๕ องศาเซลเซียสแต่ถึงอย่างไรแล้ว ในฤดูหนาวแล้วอากาศจะเย็นลงในเวลากลางคืน และอากาศร้องแห้งในช่วงเวลากลางวัน โดยทั่วไปจะไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ในโรงเรือนเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าฏฐานได้ดังนั้นทางโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒ ๕ จังหวัดแพร่ จึงมีความประสงค์ที่จะจัดทำโครงงานการการควบคุมอุณหภูมิเห็ดนางฟ้า โดยที่มีการจัดการในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิความชื้น การควบคุมความเข้มแสง และการรถน้ำก้อนเชื้อเห็ดที่เป็นไปอย่างอัตโนมัติ

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

VDO

โปสเตอร์ (PDF)

AB41 โครงงาน ราวตากผ้าอัตโนมัติ โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in News & Contest, ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงาน ราวตากผ้าอัตโนมัติ
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

ผู้จัดทำ

ส.ณ ยุทธการ อุดมศรี
ส.ณ กฤษณ์ อุกฤษณ์
ส.ณ ธราธร กอสัมพันธ์
ส.ณ พิทยุต เถียรอ่ำ

อาจารย์ที่ปรึกษา:


นางสาวพนิดา เล้าประเสริฐ
นายพีรพัทร ตรงดี
นางสาวปวีณา จันทร์เพ็ง

สถานศึกษา :

โรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี

ความเป็นมา

ในปัจจุบันโลกมีการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ผู้คนต้องแข่งขันกันในทุกด้าน บางคนใช้เวลาทำงานนอกบ้านมากจนไม่มีเวลาสำหรับการทำงานในบ้าน เช่น การทำความสะอาดบ้าน รวมไปถึงการทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่ม ที่เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องสวมใส่กันทุกวันซึ่งในเวลาที่เร่งรีบบางคนซักเสื้อผ้าแล้วตากทิ้งไว้ทั้งวัน แล้วออกจากบ้านไปทำงาน ถ้าเป็นในช่วงฤดูร้อนก็จะไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใดแต่ถ้าเป็นในช่วงฤดูฝน เราจะไม่สามารถตากเสื้อผ้าทิ้งไว้ได้ตลอดทั้งวัน ในการตากผ้าแต่ละครั้งจึงต้องมีคนคอยเก็บเสื้อผ้าเมื่อผ้าแห้ง แต่เมื่อฝนตกก็ต้องรีบมาเก็บเสื้อผ้าและถ้าไม่มีใครอยู่บ้านผ้าที่ตากไว้ก็จะเปียกได้อีกทั้งการเลือกตากเสื้อผ้าไว้ในที่ร่มก็จะทำให้เสื้อผ้าเกิดเชื้อราและมีกลิ่นอับชื้นได้ปัญหาที่ทางคณะผู้จัดทำ พบคือ สามเณรที่พักจำวัดอยู่ภายในวัด และต้องเดินทางมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนเลยไม่สามารถกลับไปเก็บผ้าได้เวลาฝนตก ทำให้จีวร สบง เครื่องนุ่งห่ม เปียก เกิดกลิ่นอับ ไม่สามารถนำมานุ่งห่มได้ จึงได้มีแนวคิดทำราวตากผ้าอัตโนมัติ ขึ้นมาใช้งาน โดยราวตากผ้าอัตโนมัติจะมีหลักการทำงานเมื่อมีฝนตกลงมาโดนที่หน้าสัมผัสของเซนเซอร์ตรวจจับน้ำฝน จะทำให้ราวตากผ้าทำงานเก็บผ้าที่ตากไว้เข้าที่ร่มและเมื่อฝนได้หยุดตกจะทำให้ราวตากผ้าอัตโนมัติ ได้ทำการนำผ้าที่ตากอยู่หรือผ้าที่ยังไม่แห้ง ออกมาตากใหม่ให้ผ้าที่ยังไม่แห้งนั้นแห้ง ซึ่งราวตากผ้าอัตนมัตินี้จะช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเราได้อีกอย่างหนึ่ง

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

AA25 โครงงานหอนอนอัจฉริยะ 28 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 28 จังหวัดยโสธร

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in News & Contest, ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงานหอนอนอัจฉริยะ 28
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ต้น
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

ผู้จัดทำ
เด็กชายวรากร จาดมั่ง
เด็กชายชินดนัย แก้ววิเศษ
นายจารุภัทร –

อาจารย์ที่ปรึกษา:

หออัจฉริยะส่ง

สถานศึกษา :

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 28 จังหวัดยโสธร

ความเป็นมา

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีแนวคิดในการลดความเหลื่อมล้ำ โดยการสร้างนวัตกรรุ่นใหมให้เกิดขึ้นทั่วประเทศเพื่อให้นวัตกรเหล่านั้น นำองค์ความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) มาใช้ในการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (ยุทธศาสตร์ที่ 5) โดยจะได้ดำเนินโครงการ”การพัฒนาครูและเยาวชนกลุ่มด้อยโอกาสด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) กับการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative Learning)จากการสร้างสรรค์นวัตกรรม IoT (Internet of Things)”โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 28 จังหวัดยโสธร มีลักษณะเป็นโรงเรียนประเภทอยู่ประจำ จึงมักพบปัญหาเรื่องการเปิด – ปิดไฟ เนื่องจากในหอนอนแต่ละวันมีภาระหน้าที่ที่ต้องทำและต้องออกไปเรียนหนังสือโดยที่ไม่กลับมาหอนอนในระหว่างวันได้ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่มีใครปิดไฟ หอนอนอัจฉริยะนั้นเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างดีและอาจจะเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่ดีหรือเป็นสิ่งที่ดีของบางคน ที่มีภาระหน้าที่ที่จำเป็นต้องทำเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่มีเวลาอยู่หอนอน และมีตัววัดค่แสงช่วยเปิด-ปิดไฟด้านในหอนอนคณะผู้จัดทำโครงงานจึงได้มีการศึกษาเกี่ยวกับระบบระบบเปิด-ปิดไฟ เป็นระบบที่ช่วยในการเปิด-ปิดไฟภายในหอนอน

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

CB10 โครงงาน เครื่องบำบัดน้ำเสียจากพลังงานแสงอาทิตย์ โรงเรียนบากงพิทยา มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน, โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อศึกษาและดูแลสิ่งแวดล้อม .

โครงงาน เครื่องบำบัดน้ำเสียจากพลังงานแสงอาทิตย์
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อศึกษาและดูแลสิ่งแวดล้อม

ผู้จัดทำ
ตูแวมูฮัมหมัดเฟาซัน ยามา
อูบัยดิลละห์ หะยีเจะเด็ง
ซอบารียะห์ ยามา

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นูรียะ อามะ
ฮาสือนะ แบเฮง

สถานศึกษา :

โรงเรียนบากงพิทยา

ความเป็นมา

ระบบนิเวศทุกอย่างล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นระบบนิเวศแหล่งน้ำ ปัญหาที่พบมากเกี่ยวกับแหล่งน้ำคือเรื่องน้ำเน่าเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการทิ้งน้ำที่ใช้แล้วและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน เช่น น้ำที่ใช้ซักฟอกทำความสะอาด ที่ส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์ปะปนมากับน้ำทิ้งเหล่านั้นจนทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม หากโรงงานมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำก็จะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่ายเพราะมีปริมาณสารปนเปื้อนในอัตราสูง สารที่ตกค้างตามแหล่งน้ำทำให้เกิดเป็นมลพิษทางน้ำขึ้นได้ เมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการไหลเวียนถ่ายเท จะทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นเนื่องจากน้ำเน่าเสีย ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดจากมลพิษทางน้ำจะกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ เช่นน้ำเสียที่เกิดจากสารพิษอาจทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตในน้ำตายทันที ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง อาจทำลายพืชและสัตว์น้ำเล็กๆที่เป็นอาหารของปลา ทำให้ความอุดมสมบูรณ์หรือแหล่งอาหารของสัตว์น้ำลดลง เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค โรคบิด และท้องเสีย มีผลกระทบต่อการเกษตรกรรมทำให้การเพาะปลูกมีผลผลิตลดลงเพราะน้ำเสียที่มีความเป็นกรดและด่างไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร กลุ่มของข้าพเจ้าได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงนำความรู้ทางเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยการสร้างเครื่องบำบัดน้ำเสียจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งควบคุมการทำงานโดยการเขียนโปรแกรมลงบนบอร์ด Kid Bright และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อควบคุมการทำงานของใบพัด โดยนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้า และบอร์ด Kid Bright เป็นบอร์ดรุ่นใหม่ที่สามารถเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด จึงทำให้สามารถนำมาใช้ประยุกต์กับชิ้นงานนี้ได้เพื่อที่จะสามารถทำให้แหล่งน้ำที่เน่าเสียกลับมาสะอาดดังเดิมได้อีกครั้ง

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

AB40 โครงงานหน้าต่างอัจฉริยะ (Smart Window) โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงานหน้าต่างอัจฉริยะ (Smart Window)
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

ผู้จัดทำ
สามเณรวุฒิโชค แซ่จ๋าว
สามเณรรัชชานนท์ วิทยา
สามเณรภัคพล วิรัติพาส

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นางสาวเบญจมาศ หงษ์ห้า

สถานศึกษา :

โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา

ความเป็นมา

เนื่องจากสมัยนี้ประชากรผู้สูงอายุคิดเป็น 17.5 ของประชากรไทยทั้งหมดและยังมีอัตราการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.5 ต่อปีและผู้สูงอายุจำนวนมากก็มักจะประสบปัญหากับโรคโรคหนึ่งที่เป็นภัยเงียบซึ่งนั่นก็คือโรคไขข้อกระดูกเสื่อมจึงทำให้ผู้สูงอายุบางคนอาจจะยืนหรือเดินนานไม่ได้มากทางเราจึงเล็งเห็นว่าผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในบ้านเพียงคนเดียวอาจจะเกิดอุบัติเหตุจากการเดินไปเปิดหรือปิดหน้าต่างภายในบ้านทางเราจึงคิดจัดทำโครงงานหน้าต่างอัจฉริยะมาอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ปัจจุบันปัญหาหกล้มในผู้สูงอายุมีอันตรายกว่าคนวัยอื่นหลายเท่าตัว และในผู้สูงอายุยังมีความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายเนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงและทรงตัวได้ไม่ดีพอ โดยในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้ม 28-35% ส่วนในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 32-42% ไม่เพียงเท่านั้นจากสถิติเกี่ยวกับการบาดเจ็บของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากการหกล้มสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนจึงเป็นที่มาของโครงงานนี้

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

AB39 โครงงานเครื่องอัดกระป๋องอัตโนมัติ (Automatic canning machine) โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน .

โครงงานเครื่องอัดกระป๋องอัตโนมัติ (Automatic canning machine)
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน

ผู้จัดทำ
สามเณรรักไทย สุขขาว
สามเณรอานุภาพ อิ่มใจ
สามเณรศุภชัย อามาตมนตรี

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นางสาวเบญจมาศ หงษ์ห้า

สถานศึกษา :

โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา

ความเป็นมา

เนื่องจากในปัจจุบันมีสิ่งที่จะอํานวยความสะดวกให้กับมนุษย์เป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดจํานวนขยะในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทําให้เกิดปัญหาในการขนส่ง และในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีก็มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ได้เข้ามาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น ในการซื้อขายสินค้าบางประเภทไม่จําเป็นต้องมีร้านค้าและผู้ขาย แต่ใช้เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติแทนเครื่องเหล่านี้สามารถติดตั้งได้ตามสถานที่ต่าง ๆ ใช้พื้นที่ไม่มาก สะดวกต่อผู้ซื้อและยังสามารถใช้งานได้ เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็คือ เครื่องขายนํ้าดื่มอัตโนมัติ นํ้าดื่มที่ขายกนอยู่ได้แก่นํ้าอัดลม กาแฟ ฯลฯ ซึ่งสินค้าประเภทนี้จะมีการบรรจุอยูใน่วัสดุที่ใช้แตกต่างกัน โดยวัสดุที่ใช้บรรจุนํ้าอัดลมจะเป็นกระป๋องอลูมิเนียม ส่วนเครื่องขายเครื่องดื่มอัตโนมัตินี้ใช้กันอย่างแพร่หลายมากในสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก สวนสาธารณะ โรงพยาบาล รวมไปถึงสถานศึกษาต่างๆ และสถานที่ราชการเป็นต้น เพราะเครื่องขายนํ้าดื่มอัตโนมัตินี้ให้ความสะดวกแก่ผู้ซื้ออย่างมาก ในวันหนึ่งๆ จึงมีผู้ใช้จํานวนมาก ผลที่ตามมากคือมีขยะกระป๋องเกิดขึ้นจํานวนมากในแต่ละวันในสถานที่เหล่านั้น จำนวนขยะ หรือปริมาณเศษของที่เหลือจากการใช้ มีปริมาณเพิ่มขึ้น หากเราสามารถลดปริมาตรของกระป๋องได้ ก็จะเป็นการประหยัดเนื้อที่จัดเก็บ ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องอัดกระป๋องอัตโนมัติ เพื่อช่วยลดขนาดกระป๋อง โดยอาศัยระบบกลไก เพื่อที่จะทำให้กระป๋องน้ำอัดลมที่เราดื่มน้ำหมดแล้วนั้นมีปริมาตรลดลง เพื่อที่จะทำให้ใช้พื้นที่น้อยที่สุดเพื่อง่ายในการเก็บ และขนย้าย ดังนั้นคณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดที่จะออกแบบ สร้างและออกแบบพัฒนา เครื่องอัดกระป๋องอัตโนมัติ เพื่อนำไปใช้ได้จริง โดยนำเอาเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว GoGo Board คือระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Board) ที่สามารถเขียนโปรแกรมควบคุมได้ มาช่วยในการสร้างสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม เพื่ออำนวยความสะดวก ความถูกต้องแม่นยำในการควบคุมระบบSensor Infrared โครงงานของเรานี้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นๆได้

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

 

โปสเตอร์ (PDF)

Next Page »

Meta

  • Log in
  • Entries feed
  • Comments feed
  • WordPress.org

CyberChimps WordPress Themes

© โครงงานสมองกลฝังตัว