TH  |  EN

ค่ายเรียนรู้ออนไลน์ ดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบตามแนวทาง GLOBE วันที่ 13 และ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

 

 

     มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริฯ (HRH) และงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท (SRS) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิใจกระทิง กิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ “ค่ายเรียนรู้ออนไลน์ ดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบตามแนวทาง GLOBE” ในวันเสาร์ 13 และ 27 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 – 16.00 น. ให้แก่ครูนักเรียร จำนวน 78 คน จาก 5 โรงเรียนในพื้นที่แม่ฮ่องสอน ได้แก่ ปายวิทยาคาร ห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ ขุนยวมวิทยา แม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” และสบเมยวิทยาคม

วัตถุประสงค์
    1. เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียน ผ่านกระบวนการเรียนรู้วิจัยแบบ Project-based และ/หรือ Problem-based learning
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียนในโครงการฯ ได้จัดทำโครงงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System Science) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับส่ิงแวดล้อมในธรรมชาติด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางของโครงการ GLOBE
4. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียนในโครงการฯ ได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือไอซีที และ/หรือ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ สมองกลฝังตัว Internet of Things เพื่อค้นคว้า ตรวจวัด จัดเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านส่ิงแวดล้อม ในการจัดทำโครงงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System Science)
5. เพื่อเพิ่มโอกาสให้ครู และนักเรียนในโครงการฯ ได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และได้แลกเปลี่ยน ความรู้/ประสบการณ์การศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนบนเวทีระดับประเทศ ระดับ ภูมิภาค และ ระดับโลกจากหน่วยงานต่างๆ โดยมีหัวข้อบรรยาย ดังนี้

   1 รู้จักอุปกรณ์ และต่ออุปกรณ์ KidBright, BM280 วัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ, Soil moist, Dust Detection, Sonar distance
(ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3J0uXy3)

2 การเขียนคำสั่งเพื่อสั่งให้อุปกรณ์ทำงานเพื่อสั่งการอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ การแสดงผลผ่าน application และ การส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย
(ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3LdduEj)

3. ตัวอย่างแนวความคิดการทำโครงงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบด้วยเทคโนโลยีของโรงเรียน โดยมีเนื้อหาตามนี้

3.1 โครงงาน Waste Water Treatment จากโรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ (ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/34hEVwe)

3.2. โครงงาน Pollution Alert จากโรงเรียนห้องสอนศึกษา ในพระอุปถัมภ์ฯ (ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3L89Xau)

3.3. โครงงานการวัดปริมาณฝุ่นในอากาศ โรงเรียนปายวิทยาคาร (ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3upjvI8)

3.4. โครงงานการพัฒนาคุณภาพน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โรงเรียนปายวิทยาคาร (ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3JjRK8j)

3.5. โครงงานการศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำ และสมบัติทางกายภาพบางประการของน้ำผ่านชุดตรวจอัตโนมัติ เพื่อเป็นดัชนีวัดคุณภาพแม่น้ำยวม (ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3sjD3eb)

3.6. โครงงานเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ำด้วยสมองกล โรงเรียนสบเมยวิทยาคม (ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3gpn3SA)

3.7. โครงงานตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออัจฉริยะ Smart Tissue Culture Cabinet โรงเรียนสบเมยวิทยาคม (ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3szSdMT)

    3.8. โครงงานฯ ต่างๆ จากโรงเรียนขุนยวมวิทยา (จำนวน 4 โครงงานฯ) (ชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/3HEXc4Q) ได้แก่
– ชุดบำบัดน้ำเสียจากครัวเรือน
– การตรวจวัดสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเพื่อบ่งชี้คุณภาพน้ำบริเวณน้ำยวม อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
– การศึกษาความหลากหลายของแพลงค์ตอนพืชเพื่อบ่งชี้คุณภาพน้ำบริเวณสระรัชดาภิเษก อำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
– การเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำด้วยพืชน้ำท้องถิ่น ในบ่อเลี้ยงปลาโรงเรียนขุนยวมวิทยา