โครงงานสมองกลฝังตัว

  • หน้าหลัก
  • อิคคิวซัง
    • ปีการศึกษา 2562
    • ปีการศึกษา 2561
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
    • ปีการศึกษา 2558
    • ปีการศึกษา 2557
    • ปีการศึกษา 2556
  • ทสรช.
    • ปีการศึกษา 2562
    • ปีการศึกษา 2561
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
  • สถานพินิจ
    • ปีการศึกษา 2562
  • โรงเรียนคนพิการ
    • ปีการศึกษา 2562
  • มหาวิทยาลัย
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
  • STEM ปี 2560
  • Show&Share2022
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อศึกษาและดูแลสิ่งแวดล้อม
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน
    • โครงงานลิฟต์
    • รายชื่อผู้เข้าแข่งขันอื่นๆ

BB15 โครงงานหุ่นไล่กาอัจฉริยะช่วยเกษตรกร โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จังหวัดกระบี่ (ม.ปลาย)

Posted on December 1, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงานหุ่นไล่กาอัจฉริยะช่วยเกษตรกร
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ
นางสาวธนัชพร ช่วยนาค
นางสาวชาลิสา เหมนแก้ว
นางสาวดารณีย์ มณีมัย
อาจารย์ที่ปรึกษา:
นายนพดล พุทธพฤกษ์
นางสาวเสาวภา โสดา
นายเกรียงศักดิ์ มีแก้ว –

สถานศึกษา :

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จังหวัดกระบี่

ความเป็นมา

ศัตรูพืชทั้ง โรค แมลง สัตว์ และวัชพืช ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตทางการเกษตรมานับศตวรรษ จวบจนทุกวันนี้ยังคงต้องต่อสู้กับศัตรูพืชต่อไปโดยไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะในสงครามอันยืดเยื้อนี้ เกษตรกรยังคงได้รับผลกระทบจากการทำลายของศัตรูพืชอยู่เนื่อง ๆ มากบ้างน้อยบางขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเข้าทำลาย อาทิ สภาพอากาศชนิดและพันธุ์พืชที่ปลูก สภาพภูมิประเทศ วิธีการดูแลรักษาพืชปลูก จำนวนศัตรูธรรมชาติ วิธีการควบคุมศัตรูพืช เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มีอิทธิพลต่อปริมาณของแมลงศัตรูพืช สัตว์ศัตรูพืช เชื้อโรคพืช และวัชพืช และการเข้าทำลายผลผลิตทางการเกษตรให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งผลผลิตนี้ก็คืออาหารของประชากรโลกที่นับวันจะเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ การควบคุมศัตรูพืช นิยมใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช จนทำให้เกิดปัญหามากมายต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ความนิยมใช้สารเคมีเป็นไปอย่างกว้างขวาง และใช้เกินความจำเป็น จนศัตรูพืชหลายชนิด โดยเฉพาะแมลงสามารถปรับตัวให้ทนทานและต้านทานต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด ทำให้สารเคมีใช้ไม่ได้ผล จำนวนแมลงศัตรูพืชจึงเพิ่มมากขึ้น ทำให้การระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่เกษตรกรเองก็พยายามหาวิธีและเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืชที่คุกคามผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้สารเคมีชนิดใหม่ ใช้ในอัตราที่เข้มข้นมากขึ้น ใช้ถี่ขึ้น หรือบางรายหันไปใช้สารชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งการควบคุมศัตรูพืชที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นการ “ตั้งรับ”ปัญหา คือเมื่อพบการทำลายแล้วจึงเริ่มลงมือกำจัด สกัดกั้น และควบคุม ซึ่งสายเกินไป ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย และเกิดการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่ใกล้เคียงและขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ บางพื้นที่การแพร่ระบาดลุกลามรุนแรงจนควบคุมไม่ทัน ทำให้ผลผลิตเสียหายหนัก เกษตรกรขาดทุนและมีหนี้สินตามมา ผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดที่จะทำโครงงาน หุ่นไล่กาอัจฉริยะช่วยเกษตรกรขึ้นมา เพื่อที่จะใช้ในการไล่ศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็น หนู ค้างคาว แมลง รวมถึงยังสามารถรายงานสภาพแวดล้อมในส่วนให้เกษตรกรทราบได้

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

 

Clip VDO 

 

โปสเตอร์ (PDF)

 

« AA17 โครงงานเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สรั่วไหล โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จังหวัดกระบี่ (ม.ต้น)
TD14 โครงงานลิฟต์ขนส่ง โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จังหวัดกระบี่ »

Meta

  • Log in
  • Entries feed
  • Comments feed
  • WordPress.org

CyberChimps WordPress Themes

© โครงงานสมองกลฝังตัว