โครงงานสมองกลฝังตัว

  • หน้าหลัก
  • อิคคิวซัง
    • ปีการศึกษา 2562
    • ปีการศึกษา 2561
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
    • ปีการศึกษา 2558
    • ปีการศึกษา 2557
    • ปีการศึกษา 2556
  • ทสรช.
    • ปีการศึกษา 2562
    • ปีการศึกษา 2561
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
  • สถานพินิจ
    • ปีการศึกษา 2562
  • โรงเรียนคนพิการ
    • ปีการศึกษา 2562
  • มหาวิทยาลัย
    • ปีการศึกษา 2560
    • ปีการศึกษา 2559
  • STEM ปี 2560
  • Show&Share2022
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อศึกษาและดูแลสิ่งแวดล้อม
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ
    • โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน
    • โครงงานลิฟต์
    • รายชื่อผู้เข้าแข่งขันอื่นๆ

Category Archives: ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

BB28 โครงงานโรงเรือนผักอัจฉริยะระบบปิด โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จ.กระบี่ ระดับมัธยมปลาย

Posted on December 4, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงานโรงเรือนผักอัจฉริยะระบบปิด
ระดับ ระดับมัธยมปลาย
ประเภท ด้านสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ
นางสาวกัณญาภัค สิทธิโชติ
นางสาวศศิธร ไชยา
นางสาวรุ่งอรุณ น้อยอามาตย์

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นายสานิต โลบภูเขียว
นายณัฐพล วงษ์ยอด
นายนวภพ เชื้อคำเพ็ง

สถานศึกษา :

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จ.กระบี่

ความเป็นมา

 

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

 

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

 

BB03 โครงงาน smart farm ชัยพิทยพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา (จารุวัฒนานุกูลท่าพระ) มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 4, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงาน smart farm
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ
นายสิทธิเดช แสวงแก้ว
นายณัฐพงษ์ บุญลี
นายพรประสิทธิ์ ทองสาร

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นายธนากร ไชยยะ
นายทนงศักดิ์ พะวงศ์รัตน์

สถานศึกษา :

ชัยพิทยพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา (จารุวัฒนานุกูลท่าพระ)

ความเป็นมา

เพื่อออกแบบและสร้างระบบควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติ ระบบตรวจจับสัตว์และคนที่เข้าออกพื้นที่โคกหนองนา ระบบเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

BA07 โครงงานระบบให้อาหารปลาอัตโนมัติ ชัยพิทยพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา (จารุวัฒนานุกูลท่าพระ) มัธยมศึกษาตอน ต้น

Posted on December 4, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงานระบบให้อาหารปลาอัตโนมัติ
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ต้น
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ
เด็กชายพงษ์ปกรณ์ ปลื้มสระไชย
เด็กชายธนาธิป ประจำทอง
เด็กหญิงกันตินันท์ ทองยิ่ง

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นายศตวรรษ เหล่าราช
นางสาวสายพิณ ทองเกื้อ

สถานศึกษา :

ชัยพิทยพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา (จารุวัฒนานุกูลท่าพระ)

ความเป็นมา

ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยสัตว์เลี้ยงมีหลากหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น ปลาสวยงาม เป็นสัตว์สวยงามที่นิยมเลี้ยงในตู้ปลาเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบของคนเลี้ยงคือไม่มีเวลาหรือลืมให้อาหารสัตว์ปลา ทำให้ปลาอาจล้มป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร และตายได้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีและโทรคมนาคมได้พัฒนามากขึ้น จึงเป็นเรื่องง่ายในการให้อาหารปลาระยะไกลผ่านสมาร์ตโฟน จึงได้คิดค้นพัฒนาระบบให้อาหารปลาอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยการนำบอร์ด KidBright ที่มีความสามารถหลากหลายนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright ผ่านแอปพลิเคชันสำหรับสั่งการระยะไกลขึ้นเพื่อปลาสวยงามจะได้กินอาหารตรงตามเวลา

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

 

โปสเตอร์ (PDF)

 

ฺBA12 โครงงานระบบการจัดการน้ำในการเลี้ยงปูนา แบบอัตโนมัติ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จังหวัดกระบี่ มัธยมศึกษาตอน ต้น

Posted on December 3, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๗ จังหวัดกระบี่
ระบบการจัดการน้ำในการเลี้ยงปูนา แบบอัตโนมัติ
มัธยมศึกษาตอน ต้น
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ
เด็กชายศิริวัฒน์ สุขวัฒนาภิรมย์
เด็กชายณัฐพงศ์ เพชรบ้านนา
–
นายนพดล พุทธพฤกษ์
นางสาวเสาวภา โสดา
นางสาวรัชญากร จันทร์ช่วย

โครงงานตะกร้าเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๕ จังหวัดแพร่

Posted on December 3, 2022 by hrh Posted in News & Contest, ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงานตะกร้าเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ต้น
ประเภท   โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ

เด็กหญิงสุปราณี สมิงนรา
เด็กชายสุรชาติ แซทใหญ่
เด็กชายกิตติภพ แซ่ท้าว

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นายตะวัน สุทธวิจิตร
นางสาววราภรณ์ ทะนันไชย

สถานศึกษา :

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๕ จังหวัดแพร่

ความเป็นมา

การเพาะถั่วงอกแต่เดิมต้องคอยดูแลควบคุมความชื้น และการรดน้ำให้กับถั่วงอกทุกๆ ๒ ชั่วโมงต่อเนื่องกันเป็นเวลา วัน ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน อีกทั้งยังต้องใช้น้ำในปริมาณที่มากในการเพาะถั่วงอก โดยที่รดไปแล้วก็ปล่อยทิ้งไปโดยไม่ได้มีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ จากการเพาะถั่วงอกแบบเดิมพบว่าผู้ดูแลถั่วงอกต้องเสียเวลาในการคอยรดน้ำ และควบคุมคอยเอาใจใส่ในเรื่องของน้ำให้ได้ตามที่กำหนด เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นให้คงอยู่เสมอ และจากการอบรมตามโครงการ การพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้โครงการมูลนิธิเทคโนโลยี สารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมรี และวิทยากรจาก สวทช. ทำให้มีความรู้ในการออกแบบ การต่อวงจรและการเขียนโปรแกรม KidBright IDE ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้กับกระบะเพาะถั่วงอกให้สามารถทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะทำให้การเพาะถั่วงอกเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากไม่เสียเวลา อีกทั้งยังเป็นการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีโดยการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานผ่านบอร์ด KidBright ให้ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติประหยัดน้ำ และวนน้ำให้สามารถกลับมาใช้ในการรดถั่วงอกซ้ำอีกครั้ง

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

 

VDO

โปสเตอร์ (PDF)

BB26 โครงงานเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา น่าน มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงานเพาะถั่วงอกอัตโนมัติ
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ

สามเณรภูวนัย สิทธิ
สามเณรวิศิษฎ์ ดีต๊ะนา
สามเณรชนัญญู ยะปัญญา

อาจารย์ที่ปรึกษา:


นางสาวศิวพร จิณะแสน
นางสาวปราณปริยา ฝีปากเพราะ
นายพงษ์ศักดิ์ ใจประสงค์

สถานศึกษา :

โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา น่าน

ความเป็นมา

ถั่วงอกใช้เป็นวัตถุดิบ ในการประกอบอาหารเพลของสามเณรโรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา ต้องใช้ประมาณ2-3วันต่อสัปดาห์ในแต่วันละไม่ต่ำกว่า 2-3 กิโลกรัม ซึ่งถั่วงอกที่ซื้อมาจากตลาด อาจมีสารปนเปื้อนที่สามารถพบได้บ่อยในถั่วงอกตามท้องตลาด คือสารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์),สารคงความสด (ฟอร์มาลิน) และฮฮร์โมนเร่งให้อ้วน สารเหล่านี้หากรับประทานเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากจะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาท และอาจทำให้เสียชีวิตได้ จากการศึกษาการเพาะถั่วงอก จะต้องใช้เวลาในการรดน้ำทุก 2 หรือ 3 ชั่วโมง ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการใช้น้ำปริมาณมากในการเพาะถั่วงอก โดยไม่มีการนำน้ำกลับมาใช้อีก และจากการอบรมตามโครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้โครงการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และวิทยากรจาก สวทช. ทำให้มีความรู้ในการออกแบบ การต่อวงจรและการเขียนโปรแกรม gogoboard ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ให้สิ่งประดิษฐ์สามารถทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะทำให้การเพาะถั่วงอกเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก ไม่เสียเวลา ไม่สีสุขภาพ ช่วยในการประหยัดน้ำ โดยการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานผ่านบอร์ด gogoboard ให้ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ประหยัดน้ำและบำบัดน้ำให้สามารถนำกลับมาใช้ในการรดถั่วงอกซ้ำอีกครั้งจนสิ้นสุดกระบวนการเพาะถั่วงอก โดยใช้การใช้น้ำระบบน้ำวน จะสามารถทำให้ได้ผลผลิตที่สะอาด ปลอดภัย และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเพาะถั่วงอกสามารถแจ้งเตือนด้วยแสดงสถานะไฟ เมื่อครบระยะเวลาเก็บผลผลิต

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

BA15 โครงงาน โรงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โรงเรียนบากงพิทยา มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงาน โรงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ
นุรไลลา มะและ
นีอามีย์ สาเมาะ
ฟิรดาวส์ แซแมะแล

อาจารย์ที่ปรึกษา:

นูรียะ อามะ
ฮาสือนะ แบเฮง

สถานศึกษา :

โรงเรียนบากงพิทยา

ความเป็นมา

เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเห็นได้จากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อการทำงานหรือเทคโนโลยีการประกอบอาชีพมีความสำคัญต่อการทำงานมาก เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิต อาชีพใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นมากมายในยุคปัจจุบัน อาชีพหนึ่งที่ยอดนิยมตลาดต้องการในยุคปัจจุบันหรืออนาคต เช่น นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ นักวิทยาการข้อมูล นักวิเคราะห์ระบบ นักโปรแกรมเมอร์ คือ การเขียน คิด และพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ตามโจทย์ที่ได้รับ เมื่อเขียนเสร็จสามารถทำการทดสอบระบบเพื่อตรวจหาจุดบกพร่องก่อนนำไปใช้จริง บุคคลที่จะทำอาชีพนี้ได้จะต้องมีความละเอียดเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบ มีความรู้ในภาษาคอมพิวเตอร์ หรือชอบเขตการเขียน เมื่อกลุ่มของข้าพเจ้าได้เข้าร่วมค่ายด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงเกิดความสนใจในอาชีพด้านคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมขึ้นมา เพื่อฝึกทักษาะการเขียนโปรแกรมจึงได้คิดจัดทำโครงงานโรงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขึ้น เนื่องจากชาวภาคใต้ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่การทำเกษตรกรรมกลับพบปัญหาในหลากหลายปัจจัย ทั้งทางด้านพื้นที่การเกษตรที่ลดลงเพราะการขยายตัวของสังคมเมือง สภาพดินฟ้าอากาศซึ่งยากที่จะควบคุม จนเกิดเป็นปัญหาผลผลิตที่ไม่แน่นอน พืชผลเสียหายจากแมลงศัตรูพืช การขาดแคลนแรงงานและการเข้าถึงเทคโนโลยีในแปลงเกษตรและปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาเหล่านี้ จึงสร้างโรงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชีวิตของเกษตรกร เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นรวมถึงการรักษาและปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

 

โปสเตอร์ (PDF)

ฺฺBB25 โครงงานโรงเรือนอัจฉริยะ โรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงานโรงเรือนอัจฉริยะ
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ
“สามเณรกฤตพงศ์ มนตรีวง
สามเณรอนุเทพ แตงกวารัมย์

อาจารย์ที่ปรึกษา:

พระมหาบวรวิชญ์ อธิปญฺโญ

สถานศึกษา :

โรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ

ความเป็นมา

โครงงานโรงเรือนอัจฉริยะ เป็นโครงงานควบคุมด้วยบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright โดยนำความสามารถของบอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright ที่สามารถโปรแกรมให้สั่งการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (IoT=Internet of Thing) ได้มาพัฒนาต่อเป็นโครงงานโรงเรือนอัจฉริยะ IoT เพื่อใช้ในการเพาะปลูกอัตโนมัติสามารถสำรวจสภาวะอากาศภายในและสั่งการระบบปั๊มภายในโรงเรือนได้ด้วยมือถือได้ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกให้มากยิ่งขึ้น

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

BB24 โครงงานแปลงเกษตรด้วยระบบ IoT โรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ มัธยมศึกษาตอน ปลาย

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงานแปลงเกษตรด้วยระบบ IoT
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ปลาย
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ
สามเณรนนทกร หมื่นแก้ว
สามเณรอติเทพ คุณพรม

อาจารย์ที่ปรึกษา:

พระมหาบวรวิชญ์ อธิปญฺโญ

สถานศึกษา :

โรงเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ

ความเป็นมา

ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เรามากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก ซึ่งการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การศึกษา การค้นหาข้อมูล เป็นต้น จนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องปรกติในสังคมปัจจุบัน และด้วยความที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างกว้างขวาง จึงได้มีการริเริ่มแนวคิด Internet of Thing หรือ IoT เป็นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้งหมดเข้าด้วยกัน

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

BA14 โครงงานแปลงเกษตรสมาร์ทฟาร์ม โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา มัธยมศึกษาตอน ต้น

Posted on December 2, 2022 by hrh Posted in ss65-โครงงาน/สิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ .

โครงงานแปลงเกษตรสมาร์ทฟาร์ม
ระดับ มัธยมศึกษาตอน ต้น
ประเภท โครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการเกษตรอัจฉริยะ

ผู้จัดทำ
สามเณรสุเวธน์ จันทร์โม้
สามเณรกิตติพศ พรรษา
สามเณรธันวา ใยชวด

อาจารย์ที่ปรึกษา:

พระทัศน์ สุทฺธสีโล

สถานศึกษา :

โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา

ความเป็นมา

เนื่องจากโรงเรียนวัดสะกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินกิจกรรมหลัก ๆ ด้านการเกษตรทั้งปลูกพืชผักสวนครัวนำผลผลิตไปสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนและเป็นการวางพื้นฐานการประกอบอาชีพให้แก่นักเรียนและคนในชุมชนปลูกพืชผักกินเอง เพื่อลดรายจ่าย ส่วนที่เหลือจำหน่ายเพิ่มรายได้ จนกลายเป็นอาชีพหลักของครัวเรือนในพื้นที่ แต่ที่ผ่านมาโดยส่วนมากการเพาะปลูกต่าง ๆ ใช้แรงงานคนในการดูแลรักษาเป็นหลัก แต่การใช้แรงงานคนในการดูแลนั้นก็มักพบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากการขาดประสบการณ์ในการทำงานและความเอาใจใส่ในการดูแลบวกกับต้องใช้เวลาในการจัดสรรหน้าที่ต่าง ๆ และเมื่อขาดประสบการณ์กับการเอาใจใส่แล้ว คุณภาพของผลผลิตที่ได้นั้น ก็ไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากปัญหาจากการดูแลพืชบางชนิที่มีระยะเวลาการเจริญเติบโตสั้น และมีองค์ประกอบโครงสร้างละเอียดอ่อนเสียหายง่าย การปลูกและผลิตจึงมักจะประสบอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ อันเป็นผลทำให้เกิดความสูญเสียทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกไปจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคจากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ทำให้คณะผู้จัดทำเล็งเห็นปัญหาที่เกิดจากการดูแลพืชทำให้ผลผลิตเสียหาย ทำให้คณะผู้จัดทำคิดค้นระบบสมาร์ทฟาร์มอัตโนมัติ ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมความชื่น การรดน้ำและการใส่ปุ๋ยให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ และไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานในการเฝ้าดูแล

รายงานฉบับสมบูรณ์ (PDF)

Clip VDO 

โปสเตอร์ (PDF)

Next Page »

Meta

  • Log in
  • Entries feed
  • Comments feed
  • WordPress.org

CyberChimps WordPress Themes

© โครงงานสมองกลฝังตัว