TH  |  EN

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล

   สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานห้องเรียนไอทีสำหรับเด็กป่วยในโรงพยาบาล โดยมีพระราชดำ ในการใช้ไอซีที่เพื่อให้เด็กป่วยในโรงพยาบาลได้เรียนและเล่นอย่างมีความสุข ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล ให้ได้รับโอกาสการศึกษาต่อเนื่องและเท่าเทียมผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพบุคลากรการแพทย์และครูให้มีทักษะในการดูแลเด็กเจ็บป่วยในโรงพยาบาล

   เด็กที่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ หรือพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็น เวลานานมักจะเรียนไม่ค่อยทันเพื่อน บางรายถึงกับต้องซ้ำชั้น เด็กเหล่านี้ อาจเบื่อหน่าย ซึมเศร้า ดังนั้น การดูแลจึงไม่ใช่เพียงรักษาโรค ต้องช่วย เยียวยาสภาพจิตใจให้มีความสุข พร้อมไปกับช่วยให้เด็กได้รับการศึกษา อย่างเหมาะสมกับวัย ห้องเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยถือกำเนิดขึ้นจากพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนและการสร้างความสุขให้แก่เด็กป่วย ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระของครูในโรงพยาบาลที่มีจำนวนไม่เพียงพออีกด้วย
ครูในโรงพยาบาลแต่ละแห่งได้เลือกใช้วิธีการต่างๆ ตามสภาพที่เป็นจริง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เด็กป่วยและญาติพี่น้องของเด็กมากที่สุด อาทิเช่น
      – โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี มีเด็กเล็กจำนวน มากป่วยเป็นโรคทางกระดูกและข้อ ทำให้ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ ครูจะ นำสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ไปสอนที่ข้างเตียง
      – โรงพยาบาลขอนแก่น มีเด็กป่วยเป็นโรคเลือดและมะเร็ง ทำให้ต้อง พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ครูจะจัดกิจกรรมที่เน้นการมี ส่วนร่วมกับพ่อแม่ ชุมชน รวมทั้งกิจกรรมทางศาสนา
      – โรงพยาบาลหาดใหญ่ มีเด็กและญาติที่มาจากกลุ่มจังหวัดชายแดน ภาคใต้ จึงจัดสอนภาษาไทยให้ นอกจากนี้ยังมีครูจากศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียนมาช่วยฝึกอาชีพให้แก่ผู้ปกครองอีกด้วย
     เด็กชายคนหนึ่งมีปัญหาสุขภาพ อีกทั้งพ่อแม่แยกทางกัน ผู้เลี้ยงดู คือตายายซึ่งมีฐานะยากจน จึงเรียนได้เพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ แต่ เมื่อได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเข้าเรียนในห้องเรียนเพื่อเด็กป่วย มีครู ดูแลอย่างใกล้ชิด และสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI: Computer-Aided Instruction) เป็นเวลา ๑ ปี ปรากฏว่าเด็กใช้คอมพิวเตอร์เป็นและมีพัฒนาการด้านวิชาการดีขึ้น ที่สำคัญคือ มีสภาพจิตใจดีขึ้น จนใน ที่สุดเด็กบอกกับครูว่าต้องการกลับไปเรียนในโรงเรียนที่เคยเรียน และก็ได้ กลั่บไปเรียนต่ออีกครั้ง ด้วยความช่วยเหลือจากครู และพยาบาลที่ช่วย ประสานงานกับโรงเรียนให้

    เด็กอีกคนป่วยด้วยโรคทางสมอง ทำให้มองเห็นและได้ยินไม่ชัดเจน ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์การศึกษาพิเศษ จนสามารถช่วยเหลือ ตนเองได้และมีสภาพจิตใจดีขึ้น ห้องเรียนเพื่อเด็กป่วยยังได้มอบคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตซึ่งมีโปรแกรมขยายตัวอักษร รวมทั้งเลนส์ขยายสำหรับการอ่านจาก ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และประสานงาน ให้เด็กได้เรียนในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กคน.) จนเด็กเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และบอกครูว่าตนจะตั้งใจเรียนจนจบ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป

    ครูน้ำเพชร เพชรมนต์ ทำงานอยู่ที่ศูนย์การเรียนเพื่อเด็กป่วย ในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช กล่าวว่า “สิ่งที่รู้สึกประทับใจใน การทำงานนี้ก็คือ การที่เด็กป่วยได้รับการฟื้นฟูร่างกายในทางที่ดีขึ้น จนสามารถ ทำกิจกรรมและส่งเข้าประกวดในโครงการต่างๆ ของรงพยาบาลได้ นอกจากนี้ การที่เด็กป่วยที่ต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือนสามารถกลับ ไปเรียนร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่นของตนเองได้ และกลับมาบอกคุณครูว่าสอบผ่าน เลื่อนชั้นได้แล้ว ทำให้ครูรู้สึกภูมิใจอย่างมาก”

    ความสำเร็จเช่นนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้อุปกรณ์และสื่อการสอน ที่ทันสมัยเป็นเครื่องมือช่วย ไม่ว่าจะเป็นคอมผิวเตอร์ แท็บเล็ต และโปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน แต่หัวใจสำคัญคือ การที่ครูทุ่มเทแรงกายแรงใจ อย่างเต็มที่ ทำให้ห้องเรียนเพื่อเด็กป่วยสามารถพลิกฟื้นชีวิตของเด็กๆ ให้กลับ มาสุดใสอีกครั้ง