TH  |  EN

การดำเนินงานโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ

จุดเริ่มต้นโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือน “สำนักงานบริหารกิจการทางทะเล” State Oceanic Administration) ณ กรุงปักกิ่งและ “สถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน” (Polar Research Institute of China) ณ นครเซี่ยงไฮ้สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 8 และ 11 เมษายน พ.ศ.2556 ตามลำดับเพื่อทอดพระเนตรการดำเนินงานและการปฏิบัติงานวิจัยเกี่ยวกับขั้วโลกพระองค์ทรงสนทนาเป็นภาษาจีนกับนักวิจัยจีนซึ่งทำงานที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ทวีปแอนตาร์กติก ขณะนั้นผ่านทางระบบการประชุมทางไกลและทอดพระเนตรเรือตัดน้ำแข็ง“R/V Xuelong ” (Snow Dragon) ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกนับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในเรื่องการวิจัยขั้วโลก สวทช. มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ Memoradum of Understaning) กับสำนักบริหารอาร์กติกและแอนตาร์กติก (Chinese Arcticand Antarctic Administration : CAA)สังกัดสำนักงานบริหารกิจการทางทะเลเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2556 สวทช. ร่วมกับคณะทำงานโครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ ฯ พิจารณาคัดเลือกนักวิจัยไทยและทูลเกล้า ฯ ถวายรายชื่อเพื่อขอพระราชทานพระราชวินิจฉัยจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นขั้นตอนสุดท้ายซึ่งใน พ.ศ.2557 ทรงโปรดเกล้าฯให้รองศาสตราจารย์ดร.สุชนาชวนิชย์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.อรฤทัยภิญญาคงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีน ครั้งที่ 30 (CHINARE–30 : 30th Chinese Antarctic Research Expedition)และใน พ.ศ.2558 ทรงโปรดเกล้าฯให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุกูลบูรณประทีปรัตน์จากมหาวิทยาลัยบูรพาร่วมคณะสำรวจ ทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีนครั้งที่31 (CHINARE-31)

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เดินทางไปยังทวีปแอนตาร์กติก โดยเสด็จฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2536 ทรงทอดพระเนตรการศึกษาวิจัย ของคณะนักวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านชีววิทยา ธรณีวิทยาอุตุนิยมวิทยาและสภาวะแวดล้อม เป็นต้น หลังจากการเดินทาง ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ “แอนตาร์กติกา : หนาวหน้าร้อน” ซึ่งเป็นบันทึกการเดินทางเยือนประเทศนิวซีแลนด์และทวีปแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้ที่ทรงกล่าวถึงการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ว่า “การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ของข้าพเจ้า” แอนตาร์กติกา : หนาวหน้าร้อน พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  

     พ.ศ. 2547 รองศาสตราจารย์ ดร.วรณพวิยกาญจน์ นักวิทยาศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เดินทางไปทำงานวิจัยที่สถานีวิจัยโชว์วะ (Syowa Station) ซึ่งเป็นสถานีวิจัยของประเทศญี่ปุ่น ณ ทวีปแอนตาร์กติก โดยการประสานงานของ สวทช.กับสถาบันแห่งชาติเพื่อการวิจัยขั้วโลกของญี่ปุ่น (National Institute of Polar Research, Japan) และ ต่อมา พ.ศ. 2552 รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เดินทางไปกับคณะสำรวจของญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

  รองศาสตราจารย์ ดร.วรณพวิยกาญจน์

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินงานของสำนักงานบริหารกิจการทางทะเล (State Oceanic Administration)ณ กรุงปักกิ่ง และสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (Polar research Institute of China) ณ นครเซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 8 และ 11 เมษายน พ.ศ. 2556 ตามลำดับ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสนทนากับนักวิจัยจีนซึ่งทำงานที่ขั้วโลกใต้ขณะนั้นผ่านทางระบบการประชุมทางไกล และทอดพระเนตร เรือตัดน้ำแข็งXuelong (Snow Dragon) ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากขั้วโลกใต้นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ในเรื่องการวิจัยขั้วโลกสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ได้รับสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีพระราชดำริให้นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลกร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสานงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ขั้วโลกของประเทศไทยโดย สวทช. ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สวทช. กับหน่วยงานขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ (Chinese Arctic and Antarctic Administration: CAA) สังกัดสำนักงานบริหารกิจการทางทะเล เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ในการดำเนินโครงการฯ บริษัท ที.ซี. ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรมสำรวจขั้วโลกกับ CAA ในส่วนที่ประเทศไทยต้องรับผิดชอบ ได้แก่ ค่าเดินทางและค่าที่พักของนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ค่าขนส่งตัวอย่างกลับมาทำวิจัยในประเทศไทย รวมทั้งค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ระยะเวลา 5 ปี

หน่วยงานร่วมดำเนินการ

สนับสนุนโดย บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด   บริษัทในกลุ่มธุรกิจกระทิงแดง

การดำเนินงานของนักวิจัยไทยตามความร่วมมือ รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2557

     • ทำการศึกษาวิจัย ณ สถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
• นับเป็นครั้งแรกของการเดินทางเพื่อศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ วิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริฯ

หัวข้องานวิจัย

• ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมใน ทะเล (รศ.ดร.สุชนา)
• ความหลากหลายและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน (ผศ.ดร.อรฤทัย) โดยทำการเก็บตัวอย่างดินตะกอน น้ำทะเล และสัตว์ทะเลใน พื้นที่ต่างๆ

การดำเนินงานของนักวิจัยไทยตามความร่วมมือ รุ่นที่ 2 พ.ศ. 2558

วัตถุประสงค์การวิจัย

     • เพื่อสำรวจและวิจัยทางสมุทรศาสตร์ในมหาสมุทรแอนตาร์กติก เกี่ยวกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของมวลน้ำในอ่าว Prydz
     • เพื่อศึกษาผลของปรากฏการณ์โลกร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของมวลน้ำในบริเวณอ่าว Prydz จากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำ และอากาศ และการละลายของน้ำแข็งบริเวณทวีปและมหาสมุทรแอนตาร์กติก