TH  |  EN

ความเป็นมาโครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

     มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีดำเนินกิจกรรม พัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนในโครงการฯ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำ โครงงานหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำ โครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนในโครงการ ได้แก่ คิดอย่างเป็นระบบ คิดเป็นแก้ไขเป็น ทำงานกับผู้อื่นได้ ตลอดจนส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมนำเสนอผลงานในเวทีต่างๆ โดยผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ต่อระดับอดุมศึกษาในโควตาพิเศษ

กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัว การสร้างชิ้นงาน 3 มิติ และ Internet of Things

         กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัว (embedded system) เป็นกิจกรรมที่นักเรียนจะเรียนรู้พื้นฐานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผ่านชุดควบคุม (ได้แก่ GoGo Board, Raspberry Pi) เพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น มอเตอร์, เซ็นเซอร์ เป็นต้น) นักเรียนจะได้คิดหัวข้อโครงงานสิ่งประดิษฐ์/โครงงานคอมพิวเตอร์ของตนเอง แล้วสร้างชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว จากนั้นส่งเสริมให้นักเรียนส่งผลงานเข้าร่วมนาเสนอในเวทีต่างๆ ต่อไป

         กิจกรรมการเรียนรู้สร้างชิ้นงาน ๓ มิติด้วย 3D-Printer เป็นกิจกรรมที่นักเรียนจะได้ออกแบบชิ้นงานของตนเองในเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ 2 มิติ/3 มิติ แล้วสามารถสั่งพิมพ์ออกเป็นรูปร่างด้วย 3D-Printer ได้ ในการทาชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ บางครั้งชิ้นงานบางส่วนมีความเฉพาะเจาะจง ไม่มีจาหน่ายในท้องตลาด หรือมีขนาดไม่เหมาะสม เช่น น๊อต ฟันเฟือง ใบพัด อะไหล่ ดังนั้น 3D-Printer จึงมาช่วยสนับสนุนการทาชิ้นงานของนักเรียนได้

         กิจกรรม Internet of Things (IoT) เป็นกิจกรรมที่นักเรียนจะเรียนรู้ “อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง” อุปกรณ์ต่างๆ ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทาให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจาวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

 

 

ค่ายสมองกลฝังตัว และค่ายอิคคิซัง

         มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริฯ ได้เชิญนักวิชาการและหน่วยงานเครือข่ายเข้าร่วมดาเนินกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัว การสร้างชิ้นงาน 3 มิติ และ Internet of Things ให้แก่นักเรียนและสามเณร โดยจัดกิจกรรมค่าย 3 ค่ายต่อเนื่อง แล้วให้นักเรียนจัดทาข้อเสนอเพื่อขอรับทุนทาโครงงาน (สนับสนุนงบประมาณโดยโรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะ เบรน) แล้วจัดให้มีกิจกรรม Show&Share เพื่อให้นักเรียนและสามเณรได้นาเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวของตนเองเป็นประจาทุกปี (จัดในช่วงเวลาเดียวกับ Thailand Robofest Junior เพื่อให้นักเรียนและสามเณรได้เข้าร่วมส่งผลงานในเวทีระดับประเทศดังกล่าว) ตลอดจนส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมนาเสนอผลงานในเวทีต่างๆ โดยผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในโควตาพิเศษ หรือวิธีรับตรง

กลุ่มเป้าหมาย

 

         โรงเรียนที่ตอบรับเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จานวน 63 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท (ทสรช.) จานวน 31 แห่ง, โรงเรียน พระปริยัติธรรม จานวน 28 แห่ง และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จานวน 4 แห่ง