(รางวัลเหรียญทอง) เรื่อง การใช้ไอซีที วิชาความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ชั้นปีที่ 4 ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
วิชาความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ระดับชั้นปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4

คำอธิบายรายวิชา: ความหมาย ขอบข่าย ประเภท ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคและทักษะสำหรับครูในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ บทบาทของพ่อแม่และครอบครัวกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและประเมินความคิดสร้างสรรค์

1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจถึงหลักการต่างๆ ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกแบบกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทดลองจัดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไอซีบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทดลองจัดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้

2.กิจกรรม (Activities)

1. อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้ และวิธีการวัดผลประเมินผล
2. อาจารย์ให้ข้อมูลเบื้องต้นกับนักศึกษาและให้ค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ ในวิชาเรียนเป็นกลุ่ม
3. อาจารย์ให้ส่งผลการค้นคว้า และปรับความเข้าใจคลาดเคลื่อน ติดตามงานในชั้นเรียนและผ่าน Face Book Google Drive Google App ฯลฯ
4. ให้นักศึกษาจัดสร้างชิ้นงานที่ 1 โดยทำ VDO กระดาษเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ งานชิ้นที่ 2 ให้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์พร้อมทั้งให้นำ ICT เข้าไปบรูณาการในกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดทำเป็นเรื่องเล่าดิจิตอล ขณะการทำชิ้นงานอาจารย์คอยติดตาม ให้คำแนะนำ และสนับสนุนด้านต่างๆพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษาสอนด้วยกัน
5. ประเมินผลโดยใช้เกณฑ์รูบริก อาจารย์ประเมิน เพื่อนประเมินเพื่อน และสอบวัดความเข้าใจ
6. ให้นักศึกษาสะท้อนคิดจากกิจกรรมที่จัดขึ้นพร้อมทั้งแชร์ประสบการณ์ที่ได้ และแสดงความคิดเห็น

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
Face Book
Google Drive
Google App
edmodo
Youtube
rubric star
application Online/Offline
กล้องถ่ายรูป/บันทึกวิดีโอ
ฯลฯ

4. การวัดและการประเมินผล
ประเมินผลโดยใช้เกณฑ์รูบริก อาจารย์ประเมิน เพื่อนประเมินเพื่อน การสังเกต และสอบวัดความเข้าใจและการนำความรู้ไปใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และในชีวิตประจำวัน

5.บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
จากการจักกิจกรรมดังกล่าวทำให้นักศึกษาสนุกที่อยากจะเรียนรู้ มีความเข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น และยังทำให้เกิดทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และการใช้ทักษะชีวิตอีกทั้งยังเกิดความสามัคคีกันภายในกลุ่ม เพื่อนได้ช่วยเพื่อน ผู้สอนก็ได้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน ลดช่องว่างระหว่างเพื่อนด้วยกัน รวมทั้งช่องว่างระหว่างผู้เรียนและผู้สอน จากการปฏิสัมพันธ์กัน และได้ช่วยเหลือกัน PBL Using ICT ถือว่าเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ครับ

6. ข้อมูล เพิ่มเติม

ผลงานนักศึกษา

https://www.youtube.com/channel/UCKbfS4eZjJ0-JP30ePFwlpw

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน

ว่าที่ร้อยตรี ศักย์ชัย เพชรสุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม