(รางวัลเหรียญทอง) เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิชาระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม ชั้นปีที่1 ม.ราชภัฏเพชรบุรี

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
หน่วยที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ วิชาระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่1

รับชมเรื่องเล่าดิจิทัล ฉบับปรับปรุงได้ที่https://youtu.be/FKpOoJj4GxY

ผลงานต้นฉบับก่อนการปรับปรุง https://www.youtube.com/watch?v=U5w77wmIZq4

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
    -นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์
    -นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
  2. กิจกรรม (Activities)
    -VDOกระดาษ
    -Mind mapping
  3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
    -smart phone
    -visualizer
    -computer
    -google drive
    -google form
    -กระดาษ ปากกา สี กรรไกร
  4. การวัดและการประเมินผล
    -ออกแบบเกณฑ์การวัดและประเมินผลด้วย rubistar
  5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
    -นักศึกษารู้สึกเรียนสนุก นอกจากนี้ยังได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
    -นักศึกษาเข้าใจถึงการทำงานเป็นทีม ความสามัคคีในการทำงาน
    -ได้ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการเรียนมากยิ่งขึ้น
    -มีความสุขในการเรียนและการทำกิจกรรม
    -ได้ฝึกความกล้า ความคล่องในการออกรายงาน
  6. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
    กิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะอยู่ภายในชั่วโมงเรียน เนื่องจากวิชาระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม เรียน4ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยแบ่งเป็น ทฤษฎี2 ปฏิบัติ2
    ทั้งนี้กิจกรรมVDO กระดาษ เริ่มต้นชั่วโมงจะเปิดวีดีโอตัวอย่างและชี้แจงอธิบายจุดประสงค์และเป้าหมายให้ทราบ จากนั้นแบ่งกลุ่มแล้วจับฉลากหัวข้อเรื่อง หลังจากนั้นให้นักศึกษาคิดวางแผน คิดเนื้อเรื่อง แล้วนำส่งเพื่อตรวจสอบว่าถูกต้องเหมาะสมหรือควรปรับปรุงอย่างไร
    แล้วในสัปดาห์ต่อมา 2 ชั่วโมงแรกผู้สอนจะสอนเนื้อหาก่อน จากนั้น 2 ชั่วโมงหลังจะให้ดำเนินการทำ VDO กระดาษต่อ โดยจะอยู่ดูและให้คำแนะนำ รวมทั้งดูความคืบหน้าของงาน (รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์)
    ตัวอย่างผลงานนักศึกษา VDOกระดาษ
    ส่วนกิจกรรม Mind mapping กิจกรรมนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 4ชั่วโมงเรียน (1 สัปดาห์)
    ต้นชั่วโมงชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรม จากนั้นให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและแจกกระดาษให้เริ่มทำกิจกรรม โดยอนุญาตให้สามารถไปนั่งทำนอกห้องเรียนได้ (แต่อยู่ภายในบริเวณอาคาร) โดยให้เวลา2 ชั่วโมง ในการศึกษาหาข้อมูลและทำ Mind mapping  และถัดมาเป็นขั้นตอนการนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่ม โดยผู้สอนจะคอยสรุปเนื้อหาให้ เมื่อครบทุกกลุ่มเรียบร้อยทำแบบทดสอบและเขียนบันทึกอนุทิน
    Mind mapping มีอีกกลุ่มที่ผู้สอนให้ใช้งานผ่านเว็บสำเร็จรูป  แต่เมื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยการเขียนมีความสุขและสนุกกับการทำงานมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามผลของความกระตือรือร้นในการทำงานร่วมกัน การศึกษาหาความรู้ และความรู้ที่ได้รับนั้นไม่แตกต่างกัน
  7. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
    1. ชื่อ-นามสกุล กนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล
    สอนสาขา/โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
    คณะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
    หมายเลขโทรศัพท์ 086-3055333  e-mail kanokrat.jir@mail.pbru.ac.th