(รางวัลเหรียญเงิน) เรื่อง ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นป.3 ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

 

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

    1. เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างประโยชน์ของทรัพยากรน้ำได้

    2. เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำได้

   3. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำมาประยุกต์ใช้ในการแต่งนิทาน         และถ่ายทำวีดีโอได้

    4. เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกวิธีการอนุรักษ์น้ำได้อย่างเหมาะสม

2. กิจกรรม (Activities)

                มีการนำเข้าสู่บทเรียนโดยการใช้สีผสมอาหาร เป็นตัวแทนของสิ่งสกปรกและให้ผู้เรียนเทสีผสมอาหารลงในน้ำสะอาด เพื่อเป็นการอธิบายให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การใช้เกมส์เพื่อทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน ให้ผู้เรียนทำใบงานเป็นรายบุคคล จากนั้นให้ผู้เรียนได้ระดมสมองเป็นกลุ่มเพื่อสร้างสรรค์ผลงานและนำเสนอผลงานในรูปแบบการเล่านิทานและบันทึกวีดีโอ

3.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

   เครื่องมือไอซีที

       – กล้องถ่ายภาพ

    อุปกรณ์

        – สีผสมอาหาร

        – แก้วพลาสติก

4. การวัดและการประเมินผลฃ

สิ่งที่ต้องการวัด สิ่งที่วัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
ด้านพุพธิพิสัย

1.ความเข้าใจ ความสารถในการจับใจความการแปลความหมาย การสรุป หรือ ขยายความ

-การยกตัวอย่างประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

-แบบสังเกต

ประเมินเฉพาะความถูกต้อง(จากเนื้อหาสาระในใบงานของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้)                ถูกต้อง 80% ขึ้นไป =ดีมาก

ถูกต้อง 70-75% = ดี

ถูกต้อง 60-69% = ปานกลาง

ถูกต้องต่ำกว่า 60% = ปรับปรุง

ด้านจิตพิสัย

1.การรับรู้ การยอมรับความคิดเห็น กระบวนการ หรือสิ่งเร้าต่างๆ

 

-การเลือกวิธีการอนุรักษ์น้ำได้อย่างเหมาะสม

 

-แบบบันทึกการทดลอง

 

ประเมินผลงาน

ดีมาก = 4

ดี=3

ปานกลาง=2

พอใช้=1

ด้านทักษะพิสัย

1.การปฏิบัติงานโดยอาศัยผู้แนะ/เลียนแบบ การทำตามตัวอย่าง การลองผิดลองถูก

 

-การทำวีดีโอกระดาษ

 

-แบบประเมินการทำงานเป็นกลุ่ม

 

ประเมินผลงาน

ดีมาก = 4

ดี=3

ปานกลาง=2

พอใช้=1

เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน

ประเภท 4 3 2 1
รูปภาพ รูปภาพมีความสอดคล้องกับเสียงและเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ รูปภาพส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับเสียงและเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ รูปภาพส่วนใหญ่ไม่มีความสอดคล้องกับเสียงและเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ รูปภาพไม่มีมีความสอดคล้องกับเสียงและเนื้อหาบางส่วนที่ต้องการนำเสนอ
เนื้อหา เนื้อหามีความครอบคลุมและมีรายละเอียดที่ถูกต้องและครบถ้วนดีมาก เนื้อหามีความครอบคลุมและรายละเอียดที่ดี เนื้อหามีความครอบคลุมแต่มีข้อมูลบางส่วนที่มีความผิดพลาด เนื้อหาไม่ครอบคลุมและมีความผิดพลาดเยอะ
กระบวนการทำงาน มีการแบ่งหน้าที่ที่รับผิดชอบให้กับสมาชิกภายในกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน มีการแบ่งหน้าที่ที่รับผิดชอบให้แก่สมาชิกทุกคนแต่ไม่เท่าเทียมกัน มีสมาชิกบางส่วนที่ไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน สมาชิกส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน
ระยะเวลาของการนำเสนอ ความยาวของการนำเสนอ 4 นาที ความยาวของการนำเสนอ 3 นาที ความยาวของการนำเสนอ 2 นาที การนำเสนอน้อยกว่า 2 นาที หรือมากกว่า 4 นาที

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

แบบบันทึกหลังการสอน

วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของน้ำ  ชั้น ป.3

ผลการใช้แผนการสอน

มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้เรียนดี เทคนิคและวิธีการสอนส่วนใหญ่จะมีแผ่นภาพประกอบการสอนทำให้นักเรียนเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีการพูดคุยโต้ตอบคำถาม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน มีใบความรู้และใบงานทดสอบท้ายคาบ เวลาที่ใช้ในการสอนค่อนข้างน้อยทำให้ต้องพูดกระชับมากยิ่งขึ้น และต้องทำการทดลองอย่างเร่งรีบทำให้สามารถสอนได้ตามแผนที่วางไว้ได้เพียงบางส่วน

ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

นักเรียนบางส่วนสนใจ ตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนสนุกสนานและเพลินเพลินในการทำกิจกรรม และบางส่วนยังวิ่งเล่น พูดคุยกัน ไม่ค่อยสนใจในการเรียน และจากการใช้สื่อ และเทคนิคการสอน นักเรียนบางส่วนรับรู้และเข้าใจในบทเรียนมากดูได้จากใบงานและการตอบคำถามระหว่างเรียน

ปัญหาและอุปสรรค

นักเรียนบางส่วนไม่สนใจในการเรียนอาจเนื่องมาจากนักเรียนมีสมาธิที่สั้นในการเรียนรู้ ครูยังมีประสบการณ์ในการสอนน้อยและยังไม่ทราบถึงวิธีการสอนที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนมากนัก

แนวทางการแก้ไขปัญหา

ควรมีประสบการณ์สอนหลายๆครั้งเพื่อที่จะได้ทราบถึงการสอนและควบคุมนักเรียนแต่ละคนให้มีความเหมาะสม และให้ความสนใจและใส่ใจกับนักเรียนทุกคนอย่างทั่วถึง

 

6. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

แผนการจัดการเรียนรู้และประเมินผล

โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

                          วิชา วิทยาศาสตร์                                                                    ภาคเรียนที่ 2

                          หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

                           เรื่อง ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

                           ผู้สอน 1. นางสาวรัตติกาล    ทวีรัตน์

                                       2. นางสาววิไลวรรณ ขุนจันทร์  

                                       3. นางสาววาสนา   พาลา                                              เวลา 30 นาที

           สาระสำคัญ

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืชในด้านต่างๆดังนี้ ด้านอุปโภคบริโภค ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านการคมนาคมทางน้ำ ด้านแหล่งผลิตพลังงาน ด้านที่อยู่อาศัย ด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้านนันทนาการ ดังนั้นจึงต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับน้ำและการนำน้ำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สาระที่ 6 เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก

          มาตรฐาน ว 6.1

เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการ ต่าง ๆ  ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  ภูมิประเทศ  และสัณฐานของโลก  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด                                                                                                                                                                              ว 6.1 ป.3/1 สำรวจและอธิบายสมบัติทางกายภาพของน้ำจากแหล่งน้ำในท้องถิ่นและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

          สาระที่ 8 เรื่อง ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          มาตรฐาน ว 8.1

ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา    รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

          ตัวชี้วัด

ว 8.1 ป.3/1 ว 8.1 ป.3/2  ว 8.1 ป.3/3  ว 8.1 ป.3/4  ว 8.1 ป.3/6  ว 8.1 ป.3/7 ว 8.1 ป.3/8

 

           จุดประสงค์การเรียนรู้

  1.      เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างประโยชน์ของทรัพยากรน้ำได้
  2.     เพื่อให้นักเรียนสามารถยกตัวอย่างการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำได้
  3.     เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ มาประยุกต์ใช้ในการแต่ง         นิทานและวิดีโอได้
  4.     เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกวิธีการอนุรักษ์น้ำได้อย่างเหมาะสม

สาระการเรียนรู้

  •    ประโยชน์ของทรัพยากรน้ำ
  •    การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

กระบวนการจัดการเรียนรู้

  1.   ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)

1.1  ให้นักเรียนนั่งล้อมวงและมีน้ำสะอาดอยู่ 5 จุด พร้อมกับสีผสมอาหาร

1.2 ครูถามนักเรียนว่าน้ำสะอาดแก้วนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ไหมแล้วใช้อย่างไรบ้าง

1.3  ให้นักเรียนนำสีผสมอาหารใส่ลงในแก้วน้ำ แล้วครูก็ถามนักเรียนว่าน้ำแก้วนี้ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หรือไหม

1.4 ครูกระตุ้นให้นักเรียนรู้ถึงผลเสียของการทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ

   2.     ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)

2.1 ครูให้นักเรียนเล่นเกมส์นักอนุรักษ์น้ำ ซุปเปอร์จิ๋ว โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น        7 กลุ่มจากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกัน เขียนประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดยให้เวลา 5 นาที และสรุปผลคะแนนของแต่ละกลุ่ม หลังจากนั้นครูแจกใบงานให้นักเรียนแต่ละคนทำใบงาน เรื่องการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

2.2 ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 7 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มได้นำความรู้ที่ได้มาแต่งนิทานและส่งตัวแทนออกมาเล่านิทานหน้าชั้นเรียนพร้อมบันทึกวีดีโอของกลุ่มตนเอง       และมีเกณฑ์การประเมินผลงานให้นักเรียนได้ทราบก่อนลงมือปฏิบัติ

  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)

        ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงาน

  4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)

– ปัญหาน้ำเสียสามารถแก้ไขได้โดยใช้มาตรการทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีและมาตรการทางกฎหมาย เช่น ใช้กังหันน้ำแก้ปัญหาน้ำเสียและการออกกฎหมายลงโทษคนที่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ

  5. ขั้นประเมิน (Evaluation)

        5.1 ครูสังเกตและประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนจากการตอบคำถามและการทำงานกลุ่ม

แหล่งเรียนรู้/สื่อการเรียนรู้

  1.   น้ำสะอาดและน้ำสกปรก
  2.   กล้องถ่ายภาพ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

สิ่งที่ต้องการวัด สิ่งที่วัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน

ด้านพุพธิพิสัย

1.ความเข้าใจ ความสารถในการจับใจความการแปลความหมาย การสรุป หรือ ขยายความ

-การยกตัวอย่างประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

-แบบสังเกต ประเมินเฉพาะความถูกต้อง(จากเนื้อหาสาระในใบงานของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้)ถูกต้อง 80% ขึ้นไป =ดีมากถูกต้อง 70-75% = ดี

ถูกต้อง 60-69% = ปานกลาง

ถูกต้องต่ำกว่า 60% = ปรับปรุง

ด้านจิตพิสัย1.การรับรู้ การยอมรับความคิดเห็น กระบวนการ หรือสิ่งเร้าต่างๆ -การเลือกวิธีการอนุรักษ์น้ำได้อย่างเหมาะสม -แบบบันทึกการทดลอง

ประเมินผลงาน

ดีมาก = 4

ดี=3

ปานกลาง=2

พอใช้=1

ด้านทักษะพิสัย

1.การปฏิบัติงานโดยอาศัยผู้แนะ/เลียนแบบ การทำตามตัวอย่าง การลองผิดลองถูก

-การทำวีดีโอกระดาษ -แบบประเมินการทำงานเป็นกลุ่ม

ประเมินผลงาน

ดีมาก = 4

ดี=3

ปานกลาง=2

พอใช้=1

แบบบันทึกหลังการสอน

วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของน้ำ  ชั้น ป.3

   ผลการใช้แผนการสอน

มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับผู้เรียนดี เทคนิคและวิธีการสอนส่วนใหญ่จะมีแผ่นภาพประกอบการสอนทำให้นักเรียนเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีการพูดคุยโต้ตอบคำถาม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน มีใบความรู้และใบงานทดสอบท้ายคาบ เวลาที่ใช้ในการสอนค่อนข้างน้อยทำให้ต้องพูดกระชับมากยิ่งขึ้น และต้องทำการทดลองอย่างเร่งรีบทำให้สามารถสอนได้ตามแผนที่วางไว้ได้เพียงบางส่วน

ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

นักเรียนบางส่วนสนใจ ตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนสนุกสนานและเพลินเพลินในการทำกิจกรรม และบางส่วนยังวิ่งเล่น พูดคุยกัน ไม่ค่อยสนใจในการเรียน และจากการใช้สื่อ และเทคนิคการสอน นักเรียนบางส่วนรับรู้และเข้าใจในบทเรียนมากดูได้จากใบงานและการตอบคำถามระหว่างเรียน

ปัญหาและอุปสรรค

นักเรียนบางส่วนไม่สนใจในการเรียนอาจเนื่องมาจากนักเรียนมีสมาธิที่สั้นในการเรียนรู้ ครูยังมีประสบการณ์ในการสอนน้อยและยังไม่ทราบถึงวิธีการสอนที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนมากนัก

  แนวทางการแก้ไขปัญหา

ควรมีประสบการณ์สอนหลายๆครั้งเพื่อที่จะได้ทราบถึงการสอนและควบคุมนักเรียนแต่ละคนให้มีความเหมาะสม และให้ความสนใจและใส่ใจกับนักเรียนทุกคนอย่างทั่วถึง

 แบบประเมินการสังเกตการณ์ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรยนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (รายกลุ่ม)

 คำชี้แจง ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในขณะปฏิบัติงานแล้วทำเครื่องหมาย       

ลงในระดับคะแนน

                                                                                  ระดับคะแนน  5 = มากที่สุด  

                                                                                   ระดับคะแนน  4 = มาก  

                                                                                   ระดับคะแนน  3 = ปานกลาง  

                                                                                    ระดับคะแนน  2 = น้อย  

                                                                                     ระดับคะแนน  1 = น้อยที่สุด

 

รายการประเมิน ระดับคะแนน
5 4 3 2 1
1.    ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ          
2.    เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบและบันทึกข้อมูล          
3.    จัดกลุ่มข้อมูล เปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้และนำเสนอผล          
4.    ตั้งคำถามใหม่จากผลการสำรวจตรวจสอบ          
5.    แสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากลุ่มนำไปสู่การสร้างความรู้          
6.    บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริง มีแผนภาพประกอบคำอธิบาย          

 

                                             ลงชื่อผู้ประเมิน……………………………………………….                                                          

                                              ว/ด/ป…………………………………

            เกณฑ์การให้คะแนน

                       5 คะแนน แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ

                       4 คะแนน แสดงพฤติกรรมออกมาอย่างชัดเจนแต่ไม่สม่ำเสมอ

                      3 คะแนน แสดงพฤติกรรมออกมาไม่ชัดเจนแต่สม่ำเสมอ

                       2 คะแนน แสดงพฤติกรรมออกมาไม่ชัดเจนและไม่สม่ำเสมอ

                      1 คะแนน แสดงพฤติกรรมออกมาต่างจากผู้อื่น

 7. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

1. นางสาวรัตติกาล ทวีรัตน์ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
    คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม    หมายเลขโทรศัพท์ 087-5729482                           e-mail rattikan-1707@hotmail.com

2. นางสาววาสนา พาลา สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม    หมายเลขโทรศัพท์ 083-6292505                           e-mail was_love_085@hotmail.com

3. นางสาววิไลวรรณ ขุนจันทร์ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม    หมายเลขโทรศัพท์ 086-1798741                           e-mail wilaiwan_08898@hotmail.co.th

อาจารย์ที่ปรึกษา
ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย เพชรสุวรรณ สาขาวิชา วิทยาศาตร์ทั่วไป หมายเลขโทรศัพท์ 086-2931485            e-mail hs9min@hotmail.com