2-03 สื่ออิเล็กทรอนิกส์จากองค์ความรู้ของชุมชน

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง  สื่ออิเล็กทรอนิกส์จากองค์ความรู้ของชุมชน   วิชา การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน
ระดับชั้น  ปริญญาตรี ปีที่ 2

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง  สื่ออิเล็กทรอนิกส์จากองค์ความรู้ของชุมชน   วิชา การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน

ระดับชั้น  ปริญญาตรี ปีที่ 2

 

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

      จัดการเรียนการสอนแบบ PBL ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน   เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้และทักษะที่ได้รับในชั้นเรียนไปสู่การทำโครงงานการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากองค์ความรู้ของชุมชนโดยใช้สื่อ ICT เป็นเครื่องมือ

กิจกรรม (Activities) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 8 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Motivation)

ขั้นที่ 2 ศึกษาค้นคว้า (Studying and Searching)

ขั้นที่ 3 เสนอโครงงาน (Project Proposal)

ขั้นที่ 4 วางแผนการทำงาน (Project Planning)

ขั้นที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)

ขั้นที่ 6 สร้างสรรค์ชิ้นงาน (Creation)

ขั้นที่ 7 ประเมินชิ้นงาน (Evaluation)

ขั้นที่ 8 ยกย่องชื่นชม (Appreciation)

กิจกรรมการสอนในแต่ละขั้น ใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นกิจกรรมที่เรียนทั้งออนไลน์และออฟไลน์  ก่อนการเรียนการสอนผู้เรียนจะต้องศึกษาสื่อที่ผู้สอนได้จัดเตรียมเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนศึกษาการพัฒนา ศึกษาค้นคว้าที่เว็บไซต์ it-eLearning.rmu.ac.th เมื่อเข้าห้องเรียนผู้สอนจะนำเสนอสื่อและกิจกรรมให้ผู้เรียน  เรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการออกแบบและปฏิบัติการด้วยตนเอง หรือเป็นรายกลุ่ม  ตามขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Motivation)  ผู้สอนนำเสนอสื่อที่น่าสนใจ ที่จะต้องเรียนรู้ในแต่ละครั้ง นำเสนอผลงานและลักษณะงานที่ผู้เรียนจะต้องเตรียมตัวทำโครงงาน ร่วมกับชุมชน

ขั้นที่ 2 ศึกษาค้นคว้า (Studying and Searching) ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้า สื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่าง ๆ ศึกษาวิธีการสร้างและพัฒนาสื่อ  โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการถ่ายภาพ วีดิโอ และการบันทึกเสียง เป็นต้น ศึกษาจากสถานที่จริงโดยผู้สอนพาผู้เรียนในชั้นเรียน เดินทางไปสำรวจพื้นที่ชุมชน ให้นักเรียนศึกษาเบื้องต้น โดยการสัมภาษณ์ชาวบ้าน แกนนำ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน

ขั้นที่ 3 เสนอโครงงาน (Project Proposal)  ผู้เรียนนำเสนอโครงการ การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านหรือชุมชน เป็นโครงการที่ทำเป็นกลุ่ม กลุ่มละ4-5 คน โดยเลือกเนื้อหาหรือความรู้ชองชุมชนที่กลุ่มสนใจมาทำโครงการ

ขั้นที่ 4 วางแผนการทำงาน (Project Planning) ผู้สอนกำหนดวันเวลาลงพื้นที่ชุมชนเพื่อเก็บข้อมูล และวันที่สิ้นสุดการทำโครงงาน  เพื่อให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มวางแผนการจัดทำโครงงาน ให้แล้วเสร็จตามขอบเขตของโครงงานแต่ละกลุ่ม  รวมทั้งมอบหมายผู้รับผิดชอบในการทำงานประสานงานในแต่ละกิจกรรม

ขั้นที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)  ผู้สอนนัดหมายกับชุมชนเพื่อนให้ผู้เรียนลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทั้งการสัมภาษณ์ การถ่ายภาพ วีดิโอ บันทึกเสียง ในระยะเวลา 1 วัน  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสร้างพลังร่วมกันทำงานตามแผนที่กำหนด  พร้อมกับตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของงานที่ต้องการ

ขั้นที่ 6 สร้างสรรค์ชิ้นงาน (Creation) ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสร้างชิ้นงานสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากชุมชน เพื่อให้ได้ผลงานตามที่ออกแบบและนำเสนอโครงงานไว้อย่างมุ่งมั่นตั้งใจ

ขั้นที่ 7 ประเมินชิ้นงาน (Evaluation) เมื่อผลงานเกือบครบ 100 % ผู้เรียนจะแบ่งหน้าที่นำผลงานไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ เพื่อให้มีความถูกต้องและเหมาะสม โดยมีเจ้าขององค์ความรู้ในชุมชน จำนวน 2 คน และ พี่เลี้ยงด้านเทคนิควิธีการที่เป็นผู้ช่วยสอนจำนวน 1 คน หลังจากนั้นทำการปรับปรุงแก้ไขผลงาน จัดทำเอกสารประกอบการนำเสนอผลงาน และนำผลงานขึ้น YouTube เพื่อให้เพื่อนๆ ได้ชื่นชม

ขั้นที่ 8 ยกย่องชื่นชม (Appreciation)  ผู้สอนนัดหมายสรุปการดำเนินงานโครงการและชื่นชมผลงานจากคะแนนการกด Like จากผู้เข้าเยี่ยมชม

การเรียนรู้ครั้งนี้สร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน ในการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ศึกษาเรียนรู้ พร้อมเผชิญกับบริบทในชุมชน สร้างการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ส่วนรวมและชุมชน ตลอดจนสามารถสามารถคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานในสถานการณ์จริง ส่งผลให้ผลงานของแต่ละกลุ่มสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและท้องกิ่น ได้เผยแพร่สู่เว็บไซต์ผ่านเครือข่าย Youtube สร้างความปิติยินดีให้แก่ชาวบ้านและชุมชนเป็นอย่างยิ่ง

เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  1. 1 การเรียนรู้สื่ออิเล็กทรอนิกส์จาก Google Search และ YouTube

3.2  คอมพิวเตอร์, วิดีโอ, กล้องถ่ายรูป, โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ และโปรแกรม Desktop Author เพื่อทำสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การวัดและการประเมินผล

4.1  ด้านความรู้ :

1) ผู้เรียนมีความเข้าใจของผู้เรียนในการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์

2) ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในกระบวนการเรียนรู้ แบบ PBL โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 8 ขั้น

      4.2  ด้านทักษะการปฏิบัติ :

1) ผู้เรียนสามารถ นำวิธีการ 8 Steps มาทำโครงงานพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากความรู้ของชุมชนได้

2) ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ ICT ในการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

3) ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องศตวรรษที่ 21

4.3  ด้านเจตคติ :

1) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับชุมชน

2) ผู้เรียนมีเจตคติต่อชุมชน

3) จากผลการเรียนการสอน ส่งผลต่อชุมชน ทำให้ชุมชนมีความพึงพอใจต่อผลงานของผู้เรียนจากการเรียนรู้สู่การให้บริการในชุมชน

บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

            ผู้สอน : การเรียนรู้ในครั้งนี้สร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน ในการเรียนรู้  ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ศึกษาเรียนรู้  มีความพร้อมที่จะเผชิญกับ สถานการณ์  บริบทและชุมชน ผู้เรียนมีการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ส่วนรวมและชุมชน สามารถคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานในสถานการณ์จริง ส่งผลให้ผลงานของแต่ละกลุ่มสร้างประโยชน์ให้กับชุนและท้องถิ่น นำสู่การเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์  และเครือข่าย  Youtube  ส่งผลให้ชุมชนมีความปิติ ยินดีกับการทำโครงงานของผู้เรียนกับชุมชนอย่างดียิ่ง

            ผู้เรียน : จากการเรียนรู้ในรายวิชานี้ได้สัมภาษณ์ผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้และใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ จากชุมชน ในสถานการณ์จริง ทำให้เกิดความรู้ใหม่ เกิดทักษะในการคิด วิเคราะห์และการแก้ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่เรียน นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ชุมชน : การเรียนรู้ในครั้งนี้ส่งผลให้ชุมชนมีความปิติยินดี และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ดังนี้….ขอขอบคุณทางมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยเฉพาะคณาจารย์ นักศึกษา ได้มาช่วยเสริมตรงนี้ ให้ศูนย์ได้พัฒนาไปสู่เป้าหมาย สิ่งที่อยากได้จริงๆ ก็คือข้อมูล ข้อมูลเอกสารต่างๆว่าศูนย์ของเรามันเป็นอย่างนี้แหละ มีเอกสารอะไรบ้าง เพราะว่าไม่มีเครื่องมือที่จะมาช่วยจัดการข้อมูลเหล่านี้

            บทสรุป : การจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบ PBL ที่มี 8 Steps ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้า เพื่อการเรียนรู้จากสื่อ ICT และมีการวางแผนในการเรียน การทำงานร่วมกันของสมาชิกในกลุ่ม และชุมชน จัดทำโครงงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี การเรียนการสอนครั้งนี้ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะในการเรียนรู้ สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังจะเห็นได้จากผู้เรียนนำทักษะการเรียนรู้มาพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโครงงานเรียนรู้ร่วมกับชุมชนได้ข้อมูลของชุมชนที่มีความถูกต้อง และนำไปเผยแพร่ผ่าน YouTube ส่งผลให้มีการนำองค์ความรู้ของชุมชนในท้องถิ่น มาพัฒนาเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เผยแพร่ผ่าน YouTube

ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
  2. ชื่อ-นามสกุล ผศ.ดร.วรปภา อารีราษฎร์  สอนสาขา/โปรแกรมวิชา  การจัดการเทคโนโลยี  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  หมายเลขโทรศัพท์  081-9745464

e-mail: dr.worapapha@hotmail.com

  1. ชื่อ-นามสกุล ดร.อภิชาติ เหล็กดี  สอนสาขา/โปรแกรมวิชา  การจัดการเทคโนโลยี  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  หมายเลขโทรศัพท์  085-0575001

e-mail: pugan_31@hotmail.com

3. ชื่อ-นามสกุล นางสาวกาญจนา ดงสงครามเจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยสอน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  หมายเลขโทรศัพท์  082-8522565

4. ชื่อ-นามสกุล นายธนาพัทธ์ เจ้าหน้าที่ ผู้ช่วยสอน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  หมายเลขโทรศัพท์  098-5859899