3-16 ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

 

การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง  ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม                            วิชาวิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2                                                                                         ระยะเวลา 4 คาบ/ชั่วโมง

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

1.1 นักเรียนสามารถอธิบายผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

1.2 นักเรียนสามารถจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลในเรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

1.3 นักเรียนสามารถสร้าง Infographic เรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1.4 นักเรียนมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและการใช้ข้อมูลออนไลน์

  1. กิจกรรม (Activities)

2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1) ครูใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ คือ

2) ครูนำคลิปวีดีโอข่าว เรื่อง ปลากระเบนราหูตายเกลื่อนแม่น้ำ มาให้นักเรียนดู แล้วใช้คำถามถามเพิ่มเติม

2.2 ขั้นสอน

1) ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจับกลุ่ม 6-8 คน ก่อนทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ครูชี้แจงเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการสืบค้นและการใช้ข้อมูลออนไลน์ ว่านักเรียนควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ทำการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยครูจะแนะนำแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและคอยให้คำปรึกษา เมื่อนักเรียนทำการสืบค้นข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้แต่ละกลุ่มเลือกปฏิกิริยาเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่สนใจ มา 1 ปฏิกิริยา เพื่อจัดทำเป็น Infographic โดยหัวข้อที่ใช้ในการจัดทำมีดังต่อไปนี้

– สาเหตุการเกิด

– ผลกระทบ

– แนวทางในการป้องกัน

2) ครูอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง Infographic รวมถึงแนะนำโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้สร้าง ซึ่งครูจะนำตัวอย่าง Infographic มาให้นักเรียนดูประกอบไปด้วย

3) ครูและนักเรียนร่วมกันสร้างเกณฑ์ในการประเมินผลงาน จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการออกแบบ เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบเสร็จแล้ว ให้นำมาให้ครูตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

4) จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำ Infographic

2.3 ขั้นสรุป

1) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตนเอง โดยอัพโหลด Infographic ที่เสร็จเรียบร้อยแล้วลงบน Facebook

2) ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลงานของแต่ละกลุ่ม โดยการแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ใน Facebook

3) นักเรียนนำผลงานกลับไปแก้ไข ตามคำแนะนำของเพื่อนในชั้นเรียนและครู จากนั้นนำผลงานที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วไปเผยแพร่ผลงานที่ป้ายนิเทศประจำโรงเรียน

  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
    • https://magic.piktochart.com/ และ https://www.canva.com/ เว็บเพจสำหรับการสร้าง Infographic
    • คอมพิวเตอร์/โน็ตบุค/สมาร์ทโฟน

3.3 Facebook

  1. การวัดและการประเมินผล

4.1 วิธีวัดประเมินผลและเครื่องมือวัดและประเมินผล

4.1.1 ประเมินจากผลงาน Infographic

4.1.2 แบบการสังเกตพฤติกรรมในการสืบค้นและการใช้ข้อมูลออนไลน์ของผู้เรียน

4.2 เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล

เกณฑ์การประเมิน 3 2 1
1. อธิบายผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

 

อธิบายเนื้อหาถูกต้อง ครบถ้วนตรงตามหัวข้อที่กำหนด มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง อธิบายเนื้อหาถูกต้อง แต่ไม่ครบถ้วนตรงตามหัวข้อที่กำหนด มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง เนื้อหาถูกต้องบางส่วน และไม่ครบถ้วนตรงตามหัวข้อที่กำหนด มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง
2. สามารถจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลในเรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ จัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นและตรงประเด็นทุกข้อ จัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นและตรงประเด็นบางข้อ ไม่มีจัดกระทำข้อมูลใหม่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นและตรงประเด็น
3. สามารถสร้าง Infographic เรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชิ้นงานแปลกใหม่ น่าสนใจ สีสันสวยงาม และสัมพันธ์กับเนื้อหา สีสันสวยงาม และสัมพันธ์กับเนื้อหา สีสันสวยงาม และสัมพันธ์กับเนื้อหาบางส่วน
4. นักเรียนมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและการใช้ข้อมูลออนไลน์ มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้งและไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลบางครั้งและไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น
  1. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

5.1 นักเรียนสามารถอธิบายผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามที่หัวข้อกำหนด แต่จะมีบางกลุ่มที่อธิบายเนื้อหาถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วน

5.2 นักเรียนสามารถจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลในเรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดีทุกกลุ่ม มีการจัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

5.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มสามารถสร้าง Infographic เรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเป็นชิ้นงานที่แปลกใหม่ น่าสนใจและมีความสัมพันธ์กับเนื้อหา แต่จะมีบางกลุ่มที่ใช้สีพื้นหลังกับตัวหนังสือไม่เหมาะสมกัน

5.4 นักเรียนทุกกลุ่มมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและการใช้ข้อมูลออนไลน์ โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้งและไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น

  1. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา  วิทยาศาสตร์ (ว22102) ภาคเรียนที่  2                                   ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6  เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี เวลาทั้งหมด 7 ชั่วโมง

เรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม                         เวลาเรียน 4 ชั่วโมง

ชื่อผู้สอน  นางสาวปาริดา เจิมทา                                                  วันที่………/…………./………….                                                       

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร

มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย       การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

ว 3.2 ม. 2/3 สืบค้นข้อมูลและอภิปรายผลของสารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา

รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด

ว 8.1 ม. 2/1 ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจอย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้

ว 8.1 ม. 2/3 เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัย โดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม

ว 8.1 ม. 2/4 รวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ

ว 8.1 ม. 2/7 สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และนำความรู้ ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

ว 8.1 ม. 2/8 บันทึกและอธิบายผลการสังเกตการสำรวจตรวจสอบค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. นักเรียนสามารถอธิบายผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ (K)
  2. นักเรียนสามารถจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูลในเรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ (P)
  3. นักเรียนสามารถสร้าง Infographic เรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม (P)
  4. นักเรียนมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและการใช้ข้อมูลออนไลน์ (A)

สาระสำคัญ

          ปฏิกิริยาเคมีหลายชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อุตสาหกรรม เกษตรกรรมและทางการแพทย์ในขณะเดียวกันปฏิกิริยาบางชนิดก็ให้ผลลบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตของมนุษย์

สาระการเรียนรู้

            ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สมรรถนะผู้เรียน

  1. ความสามารถในการสื่อสาร
  2. ความสามารถในการคิด

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (PROJECT-BASED LEARNING : PBL))

ชั่วโมงที่ 1-3

  1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1) ครูใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ คือ

– ในชั่วโมงที่แล้วนักเรียน ได้เรียนเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันไปแล้ว นักเรียนคิดว่าการเกิดปฏิกิริยาเคมีบางปฏิกิริยาก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร

(แนวคำตอบ : มี เพราะบางปฏิกิริยาเกิดผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นกรด หรือมีควันเป็นแก๊สพิษ เช่นปฏิกิริยาการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง)

2) ครูนำคลิปวีดีโอข่าว เรื่อง ปลากระเบนราหูตายเกลื่อนแม่น้ำ มาให้นักเรียนดู แล้วถามเพิ่มเติมดังนี้

– จากคลิปวีดีโอข่าว เรื่อง ปลากระเบนราหูตายเกลื่อนแม่น้ำ นักเรียนคิดว่าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ทำไมจึงคิดเช่นนั้น

(แนวคำตอบ : สาเหตุเกิดจากน้ำเน่าเสีย เนื่องจากโรงงานปล่อยสารเคมีหรือสารพิษลงสู่แม่น้ำ เพราะสังเกตจากสีของน้ำ)

– นักเรียนทราบหรือไม่ว่า ยังมีปฏิกิริยาเคมีใดอีกบ้าง ที่มีผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

(แนวคำตอบ : ให้นักเรียนตอบคำถามโดยใช้ความรู้และประสบการเดิม เช่นการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ฝนกรด เป็นต้น)

  1. ขั้นสอน

1) ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจับกลุ่ม 6-8 คน ก่อนทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ครูชี้แจงเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการสืบค้นและการใช้ข้อมูลออนไลน์ ว่านักเรียนควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ทำการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยครูจะแนะนำแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและคอยให้คำปรึกษา เมื่อนักเรียนทำการสืบค้นข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้แต่ละกลุ่มเลือกปฏิกิริยาเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่สนใจ มา 1 ปฏิกิริยา เพื่อจัดทำเป็น Infographic โดยหัวข้อที่ใช้ในการจัดทำมีดังต่อไปนี้

– สาเหตุการเกิด

– ผลกระทบ

– แนวทางในการป้องกัน

2) ครูอธิบายเกี่ยวกับการออกแบบ การสร้าง Infographic รวมถึงแนะนำโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้สร้าง ซึ่งครูจะนำตัวอย่าง Infographic มาให้นักเรียนดูประกอบไปด้วย

3) ครูและนักเรียนร่วมกันสร้างเกณฑ์ในการประเมินผลงาน จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการออกแบบ เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบเสร็จแล้ว ให้นำมาให้ครูตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

4) จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำ Infographic

ชั่วโมงที่ 4

  1. ขั้นสรุป

1) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตนเอง โดยอัพโหลด Infographic ที่เสร็จเรียบร้อยแล้วลงบน Facebook

2) ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลงานของแต่ละกลุ่ม โดยการแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ใน Facebook

3) นักเรียนนำผลงานกลับไปแก้ไข ตามคำแนะนำของเพื่อนในชั้นเรียนและครู จากนั้นนำผลงานที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วไปเผยแพร่ผลงานที่ป้ายนิเทศประจำโรงเรียน

 การวัดและประเมินผล

เกณฑ์การประเมิน 3 2 1
1. อธิบายผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้

 

อธิบายเนื้อหาถูกต้อง ครบถ้วนตรงตามหัวข้อที่กำหนด มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง อธิบายเนื้อหาถูกต้อง แต่ไม่ครบครบถ้วนตรงตามหัวข้อที่กำหนด มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง เนื้อหาถูกต้องบางส่วน และไม่ครบถ้วนตรงตามหัวข้อที่กำหนด มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลในเรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ จัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นและตรงประเด็นทุกข้อ จัดกระทำข้อมูลใหม่ โดยการเรียงลำดับ แยกประเภท เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นและตรงประเด็นบางข้อ ไม่มีจัดกระทำข้อมูลใหม่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นและตรงประเด็น
3. สามารถสร้าง Infographic เรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชิ้นงานแปลกใหม่ น่าสนใจ สีสันสวยงาม และสัมพันธ์กับเนื้อหา สีสันสวยงาม และสัมพันธ์กับเนื้อหา สีสันสวยงาม และสัมพันธ์กับเนื้อหาบางส่วน
4. นักเรียนมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและการใช้ข้อมูลออนไลน์ มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้งและไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลบางครั้งและไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น

 สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้

  1. สื่อการเรียนรู้

1.1 เพาเวอร์พ็อยท์ เรื่อง ผลกระทบของปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1.2 คลิปวิดีโอ เรื่อง ปลากระเบนราหูตายเกลื่อนแม่น้ำ

  1. แหล่งการเรียนรู้

2.1 ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

2.1.1 https://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/2276-6?groupid=325

2.1.2 https://www.krusarawut.net/wp/?p=18176

2.1.3 https://magic.piktochart.com/

2.1.4 https://www.canva.com/

บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

เรื่อง………………………………………………………………ชั้น ……………….

  1. ผลการจัดการเรียนรู้

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

  1. ปัญหา / อุปสรรค

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

  1. ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ………………………………………………..ผู้สอน

(………………………………………………)

วันที่…………เดือน………………………….พ.ศ. ………………..

    ผลงานนักเรียน

15622564_1750408385280972_2559740741152003267_nrustic-cooking-classes-1new-piktochart_19095962_4be19a1b28acacf431fe698465ea66edc8a154ce16295506_1561511037198449_1600407472_nnew-piktochart_19087590_4b33c29e60cdfd63c6367bdd8967aa0a08608dcf

  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

นางสาวปาริดา  เจิมทา  นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

หมายเลขโทรศัพท์ 086-9263780 e-mail : domon.parida@gmail.com

นางสาววราภรณ์ ตองติดลำ  นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

หมายเลขโทรศัพท์ 092-8638730  e-mail : market_poo@hotmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา

นางสาวนันทวัน พัวพัน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์

หมายเลขโทรศัพท์097-028-3707 e-mail : nuntawan.ph@gmail.com