2-01 จิตวิทยาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ วิชา EDUC 251 จิตวิทยาสำหรับครู ระดับปริญญาตรี

 

https://www.youtube.com/watch?v=fLhdEhLRb74

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง จิตวิทยาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ 12 ชั่วโมง

(แบ่งออกเป็น คาบที่ 1-4 และคาบที่ 6-9 ของวันที่ 21 พ.ย 59  และ คาบที่ 1-4 ของวันที่ 28 พ.ย 59)

จุดประสงค์การเรียนรู้

  • เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำเอาความรู้เรื่องจิตวิทยาเด็กที่มีความต้องการพิเศษไปประยุกต์ใช้ในอนาคต
  • เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เครื่องมือไอซีทีในการค้นหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

ข้อตกลงเบื้องต้นของการจัดการเรียนรู้ เรื่อง จิตวิทยาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

อาจารย์ผู้สอนแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ ICT ล่วงหน้า

01

คาบที่ 1-4 ของวันที่ 21 พ.ย 59

ขั้นนำ — อาจารย์ผู้สอนเกริ่นนำถึงความสำคัญของการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู

dscf3597

ขั้นดำเนินกิจกรรม  

—– เนื่องจาก เรื่อง จิตวิทยาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มีเนื้อหาค่อนข้างกว้าง อาจารย์ผู้สอนจึงกำหนดขอบเขตของการเรียนรู้ ให้ครอบคลุมและให้เข้าใจโดยง่ายใน 4 ประเด็น

—– ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 7-8 คน และจับฉลากหัวข้อเรื่องจิตวิทยาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

1) เด็กที่มีความต้องการพิเศษคือใคร แตกต่างจากเด็กปกติอย่างไร

2) ประเภทของเด็กพิเศษ 9 ประเภท

3) การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ

4) เมื่อมีลูกเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จะสามารถส่งไปเรียนที่ใดได้บ้าง

dscf3528

—– ให้นักศึกษาสืบค้นองค์ความรู้ในประเด็นที่จับฉลากได้ จากหนังสือ ตำรา หรือจากเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต จากนั้นให้สรุปเป็นเรื่องราวให้เข้าใจโดยง่าย โดยการเขียน Story Board และทำการแสดง โดยนำเสนอเป็นวีดีโอเพื่อถ่ายทอดความรู้ในเรื่องนั้นๆ ในขั้นตอนนี้นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะระดมสมอง  พูดคุย แลกเปลี่ยน และทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเรื่องราวในกลุ่มของตน อาจารย์ผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยให้คำแนะนำ ให้ข้อเสนอแนะ และซักถามกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

dscf3540 dscf3557 dscf3553 dscf3555 dscf3549dscf3556

คาบที่ 6-9 ของวันที่ 21 พ.ย 59

—– ให้นักศึกษาอัพโหลดวีดีโอ ขึ้น YOUTUBE และนำมาโพสในกลุ่มเรียนใน Facebook

4-4 3-3 2-2 1-1

—– ให้นักศึกษาทุกคนประเมินผลงานวีดีโอกลุ่มทั้งของตนเองและกลุ่มเพื่อน ใน website https://www.surveycan.com/survey/24f083d7-f8cb-4ece-8cd3-3a6e44a265b2

30215193514_1166200436804677_2910743722108495044_n

ขั้นสรุป

อาจารย์ผู้สอนให้ผู้เรียนกล่าวสรุปถึงความคิดเห็น ความรู้สึก และการนำไปประยุกต์ใช้ สำหรับการจัดการเรียนการสอนในวันนี้

03000

คาบที่ 1-4 ของวันที่ 28 พ.ย 59

—–อาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก พร้อมทั้งสรุปองค์ความรู้ที่ได้นำเสนอเป็นเรื่องราวในการถ่ายทอด วีดีโอ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

—–นำผลการประเมินที่ได้จากการประเมินแบบออนไลน์ มาประกาศให้ผู้เรียนได้รู้ว่ากลุ่มไหน ได้คะแนนมากที่สุด และมีข้อคิดเห็นหรือข้อสรุปเกี่ยวกับการสร้างวีดีโอเรื่องนั้นๆอย่างไร

—– แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใน 4 หัวข้อเรื่อง ดังกล่าวข้างต้น เปิดโอกาสให้ซักถาม ทำความเข้าใจในองค์ความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์ผู้สอน คอยเต็มเติมในส่วนที่ยังขาดให้สมบูรณ์มากขึ้น

040001

แสดงผลการประเมินโดยภาพรวม

—– ในคาบเรียนสุดท้ายนี้ อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปถึงการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT และให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นถึงประโยชน์ของ ICT ที่สามารถนำมาใช้ในการสร้างองค์ความรู้และกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งนักศึกษาจะนำไปใช้สำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในภาคเรียนต่อไปได้

เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้

  • แอพลิเคชั่นต่างๆในโทรศัพท์ ที่ใช้ในการตัดต่อวีดีโอ
  • กล้องถ่ายรูป
  • โทรศัพท์มือถือ
  • Notebook

การวัดและประเมินผล

ประเมินชิ้นงานวีดีโอ ใน website https://www.surveycan.com/survey/24f083d7-f8cb-4ece-8cd3-3a6e44a265b2

บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

  • นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการสร้างชิ้นงานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่กลุ่มตนเองจับฉลากได้ และรู้จักช่วยเหลือกัน วางแผน แบ่งภาระหน้าที่ในการทำงาน เรียนรู้การทำงานเป็นทีมและทำงานกลุ่ม ภายใต้ระยะเวลาที่มีอย่างจำกัด
  • นักศึกษาได้รู้จักการใช้เครื่องมือไอซีที โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือในการใช้งานได้หลากหลาย ในการสืบค้นหาข้อมูลต่างๆ รวมถึง การทำแบบสำรวจออนไลน์ การตัดต่อวีดีโอ ทำให้นักศึกษาสนุกสนานและได้รับความรู้และความสุขในการเรียน อีกทั้งยังภูมิใจในผลงานของตนเอง
  • ชอบที่นักศึกษาเป็นผู้แสดงบทบาทสมมติเอง เป็นทั้งครู เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กปกติ เป็นผู้ปกครอง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ทุกคนแสดงได้สมบทบาทและรู้สึกว่ามีความสุขที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านสื่อวีดีโอ สร้างเป็นองค์ความรู้ทั้งหมดเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • นักศึกษากล่าวว่า “การเรียนรู้แบบนี้ทำให้เข้าใจง่ายและจดจำได้ง่ายกว่าการท่องจำ เพราะในขณะที่เรียนรู้นั้น นักศึกษามีความสุข”
  • นักศึกษาได้แนวทางในการนำไปจัดการเรียนรู้ในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในภาคเรียนถัดไป

ข้อมูลเพิ่มเติม— ภาพเบื้องหลังการทำงาน

dscf3559 แสดงเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

dscf3560 dscf3542

ภาพบรรยากาศในการทำงาน แสดงถึงความร่วมมือในการทำงานdscf3543 dscf3547 เบื้องหลังการถ่ายทำdscf3549 dscf3544 dscf3562 dscf3561 dscf3556 dscf3555 dscf3554 dscf3553

ผลงานของทุกกลุ่ม ที่สร้างเป็นองค์ความรู้ เรื่อง จิตวิทยาเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ PBL Using ICT

6

https://www.youtube.com/watch?v=_TWOYxllOnw&t=209s

 

รายชื่อเจ้าของผลงาน

อาจารย์ภาวิดา  มหาวงศ์  โทร.099-1393938

E:mail Pavida.m@psru.ac.th

สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว

คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม