2-04 การเรียนรู้ด้วยโครงงานโดยใช้ไอซีทีตามแนวConstructionism เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย

กิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย

รายวิชา การวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูคณิตศาสตร์ (MAED 492)

ระดับชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ระยะเวลา 3 ชั่วโมง

โดย อาจารย์กมลพร  ทองธิยะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

……………………………………………………………………………………………………………………

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

เพื่อให้นักศึกษาสามารถ

  • สืบค้นข้อมูลและอธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการกำหนดปัญหาการวิจัยได้
  • นำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการกำหนดปัญหาการวิจัย มาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงาน ของตนเองได้
  • มีทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม และทักษะการใช้เทคโนโลยี
  • ให้นักศึกษาสร้างความรู้ เรื่องการกำหนดปัญหาการวิจัย โดยการสร้างชิ้นงานในรูปแบบวีดิโอ
  1. กิจกรรม (Activities)

กิจกรรมนี้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Project – Based Learning โดยผู้สอนได้บูรณาการแนวคิด Active Learning ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและมีการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนได้สังเคราะห์องค์ความรู้เป็น 6 ขั้น ดังนี้

  • ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ผู้สอนสร้างกลุ่มใน Facebook เพื่อใช้ในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 4-5 คน แล้วลงรายชื่อใน Google Document และให้แต่ละกลุ่มนำเสนอปัญหาในมหาวิทยาลัยผ่านVDO โพสลงในกลุ่ม ผู้สอนติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนผ่านทางFacebookกลุ่ม

16117915_1183909488323954_151998442_n 16111793_1183909504990619_603179443_n 15996122_1183909491657287_191503821_n 16118021_1183909501657286_1710452057_n

  • ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนเตรียมความพร้อมผู้เรียนด้วยกิจกรรมจิตปัญญาศึกษา (Check in) และทดสอบก่อนเรียนด้วยโปรแกรม Kahoot จากนั้นผู้สอนแจ้งเป้าหมายของบทเรียนในครั้งนี้ ให้ผู้เรียนทราบ และกล่าวนำเข้าสู่การกำหนดปัญหาการวิจัยโดยการนำเสนอผ่านสื่อที่น่าสนใจ

15991963_1183678011680435_1759541511_o16009835_1183677995013770_1689601821_o16010245_1183677991680437_871195345_o16108014_1183922161656020_924615266_o

  • ขั้นศึกษาค้นคว้าบทเรียน ผู้สอนให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการกำหนดปัญหาวิจัย ผู้เรียนศึกษา ค้นคว้าเด็นสำคัญในเรื่องการกำหนดปัญหาการวิจัย และร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน

16010503_1183922158322687_1571894541_o 15992138_1183678021680434_1595687739_o

  • ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 4-5 คน มอบหมายงานในการสร้างวีดิโอ โดยใช้ความรู้เรื่องการกำหนดปัญหาการวิจัย จากการสังเกต เก็บข้อมูลสภาพปัญหาที่พบทั่วไปในมหาวิทยาลัย วิเคราะห์ปัญหาที่พบ และวางแผนในการสร้าง ชิ้นงาน โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นcoach คอยให้คำแนะนำและส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียน

16106729_1183678038347099_1160865751_o16010250_1183678045013765_1620449578_o16010437_1183926124988957_57125669_o16106513_1183925971655639_574966453_o

  • ขั้นนำเสนอผลงาน นักศึกษานำเสนอและเผยแพร่ผลงานผ่าน Facebook และ Youtube โดยมีการประเมินตามเกณฑ์

15992045_1183929508321952_808399553_o15991981_1183929518321951_1896771258_o15991975_1183929504988619_1273083236_o   16010349_1183929514988618_755650292_o

  • ขั้นสรุปบทเรียน ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้ และทดสอบหลังเรียน ด้วยโปรแกรม Kahoot หลังจากนั้นผู้เรียนร่วมกันสะท้อนคิดจากกิจกรรมที่ได้ทำโดยใช้ กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา (Check out) ทั้งประเด็นความรู้ที่ได้รับ ความรู้สึกต่อกิจกรรม และการนำไปใช้ในอนาคต

16009835_1183677995013770_1689601821_o 16107845_1183678065013763_69729818_o-1

  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
  • Facebook, Google Document, Google App, Youtube, Line, Kahoot
  • Computer, Tablet, Smart Phone
  • กล้องถ่ายรูป, กล้องบันทึกวีดิโอ
  1. การวัดและประเมินผล
  • วิธีวัดและประเมินผล และเครื่องมือวัดและประเมินผล

ประเมินโดยใช้เกณฑ์รูบริค โดยมีอาจารย์เป็นผู้ประเมิน เพื่อนประเมินเพื่อน และประเมินตนเอง

  • เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)
รายการประเมิน ระดับคะแนน
3 2 1
1.กระบวนการทำงานกลุ่ม มีการทำงานเป็นทีม ทุกคนมีส่วนร่วมในการ ทำงานอย่างชัดเจน มีการทำงานเป็นทีม สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มี ส่วนร่วมในการทำงาน อย่างชัดเจน มีการทำงานไม่เป็นทีม สมาชิกกลุ่มส่วนน้อยมี ส่วนร่วมในการทำงาน อย่างชัดเจน
2.การนำความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย มาใช้ในการสร้างเรื่องราวใน VDO มีการนำความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย มาประยุกต์ใช้ ในการสร้าง เรื่องราวในVDOอย่าง เหมาะสม มีการนำความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย มาประยุกต์ใช้ ในการสร้าง เรื่องราวในVDOบางส่วน ไม่มีการนำความรู้ เรื่อง การกำหนดปัญหาการวิจัย มาประยุกต์ใช้ ในการสร้าง เรื่องราวในVDO
3. ความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างVDO นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ อย่างสร้างสรรค์ มีแนวคิด ที่แปลกใหม่ไม่ลอกเลียนแบบ และมีความน่าสนใจ นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ มีแนวคิดที่ดัดแปลงหรือ ประยุกต์จากเดิมแต่ไม่ ลอกเลียนแบบ และมี ความน่าสนใจ นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ มีแนวคิดที่ลอกเลียนแบบ จากเดิม และไม่มีความน่าสนใจ
4.การใช้เทคโนโลยี ในการ จัดทำVDO ใช้เทคโนโลยีในการจัดทำ ชิ้นงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีการอ้างอิงที่มา ของข้อมูลอย่างครอบคลุม ใช้เทคโนโลยีในการจัดทำ ชิ้นงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่มีการอ้างอิง ที่มาของข้อมูล ไม่มีการใช้เทคโนโลยีในการ จัดทำชิ้นงาน
5. คุณภาพภาพและเสียง ของVDO ภาพมองเห็นชัดเจน เสียงไม่ สะดุด ใช้ภาพและเสียง ประกอบการนำเสนอ อย่างเหมาะสม ภาพมองเห็น ชัดเจน เสียงไม่สะดุดเป็นส่วนใหญ่  ใช้ภาพและเสียงประกอบ การนำเสนออย่างเหมาะสม ภาพมองเห็นไม่ชัดเจน เสียงสะดุด ใช้ภาพและเสียง ประกอบการนำเสนอ อย่างไม่เหมาะสม

  1. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการจัดการเรียนรู้ PBL Using ICT โดยบูรณาการแนวคิด Active Learning พบว่า นักศึกษาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก มีบรรยากาศในชั้นเรียนที่สนุกสนาน นักศึกษา เรียนอย่างมีความสุข มีอิสระในการคิดและการวางแผนอย่างเต็มที่ โดยนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการสร้าง ชิ้นงาน รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน นอกจากนั้นการใช้สื่อICT ประกอบการสอน นักศึกษายังให้ความสนใจกับการทำกิจกรรมในรูปแบบใหม่ๆ ทั้งการสร้างชิ้นงานโดยใช้ smart phone และการติดต่อสื่อสารผ่านทาง social network ซึ่งทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่ในห้องเรียน ก็สามารถศึกษาหาความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนในกลุ่มFacebookได้

  1. ข้อมูลเพิ่มเติม

Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิด เกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน    2 ประการ คือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์ และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทาง ในการเรียนรู้ที่ แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้(co-creators) ( Fedler and Brent, 1996) 

Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ผ่าน การปฏิบัติหรือการลงมือทำซึ่ง “ความรู้”ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ การเรียนรู้โดยการอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้ กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, และการประเมินค่า

กระบวนการเรียนรู้ Active Learning

  • การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเอง เต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาส ฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
  • การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%

ลักษณะของ Active Learning 

  • เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ ไปประยุกต์ใช้
  • เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
  • ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
  • ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด
  • เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
  • เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้าง ความคิดรวบยอด
  • ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
  • ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียo

ที่มา :
https://www.kroobannok.com/20651
https://www.yufaidelivery.com/knowledge04.html
https://www.pochanukul.com/?p=169

 

 

ตัวอย่าง Link ผลงานของนักศึกษาที่โพสเผยแพร่ใน Youtube

https://www.youtube.com/watch?v=XXy6IzIMp80

https://www.youtube.com/watch?v=4ILwemyH8-U

https://www.youtube.com/watch?v=UdJfHENVwlQ

https://www.youtube.com/watch?v=YQ-oX6qkXy4

https://www.youtube.com/watch?v=_tb2h-Wk3Fw

https://www.youtube.com/watch?v=HQQm_FS_hSQ