3-01 ก๊าซธรรมชาติสำหรับผลิตไฟฟ้า

วีดีโอมัลติมิเดียกิจกกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไไอซีที

เรื่อง ก๊าซธรรมชาติสำหรับผลิตไฟฟ้า  วิชาวิทยาศาสตร์    ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3

1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ

  1. บอกแหล่งการผลิตก๊าซธรรมชาติได้
  2. อธิบายการนำเอาก๊าซธรมมชาติไปใช้ผลิตไฟฟ้าได้
  3. เลือกกระบวนการการนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าและสร้างชิ้นงานโดยใช้ ICT ได้

2. กิจกรรม (Activities)

ขั้นที่ 1  สร้างความสนใจ (engagement)

  1. ครูสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวีดีโอใส่แผ่นซีดีให้ผู้เรียนกลับไปดูที่บ้าน
  2. ครูแจกแบบทดสอบก่อนเรียนให้นักเรียน
  3. ครูกระตุ้นผู้เรียนด้วยการตั้งคำถาม จากวีดีโอที่ผู้เรียนได้ดูมาแล้ว

ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (exploration)

  1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ  5  คน
  2. ให้นักเรียนจับฉลาก เพื่อเลือกกระบวนการการนำก๊าซธรรมชาติไปผลิตไฟฟ้าในรูปแบบที่ 1 หรือรูปแบบที่ 2
  3. ครูแจกใบงานและอุปกรณ์ในการเล่นเกม (ต่อชิ้นส่วนรูปภาพ) ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มตรงตามหัวข้อนั้นๆ (รูปแบบที่ 1 หรือรูปแบบที่ 2)
  4. ให้นักเรียนต่อรูปภาพให้ถูกต้องตามกระบวนการการนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าในรูปแบบนั้นๆ ให้เวลากลุ่มละ 5 นาที (ให้แข่งขันกันแต่ละกลุ่ม)
  5. เมื่อนักเรียนกลุ่มใดต่อได้ถูกต้องแล้ว ครูให้นักเรียนวาดรูปกระบวนการการนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าของกลุ่มตนเองลงใน Tablet โดยใช้โปรแกรม DRAWING BOARD FOR KIDS

ขั้นที่ 3  อธิบายและลงข้อสรุป (explanation)

  1. ให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานการวาดรูปหน้าชั้นเรียนและอธิบายกระบวนการการนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าของกลุ่มตนเองให้เพื่อนฟังโดยสรุป
  2. ระหว่างนักเรียนนำเสนอผลงานครูทำการประเมินชิ้นงานตามแบบการประเมิน
  3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้รับจากการทำกิจกรรม

ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (elaboration)

  1. ครูจะใช้บอร์ดเป็นสื่อให้ความรู้ในการอธิบายเพิ่มเติม

ขั้นที่ 5 ประเมิน (evaluation)

  1. ครูสุ่มตัวแทนนักเรียนเพื่อตอบคำถาม 5 คำถาม  เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ให้กับผู้เรียนและครูแจกแบบทดสอบหลังเรียนให้นักเรียนลงมือทำ

 

 3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  1. อินเตอร์เน็ต
  2. CD ความรู้ที่ครูแจก
  3. Tablet
  4. โปรแกรม DRAWING BOARD FOR KIDS
  5. วีดีโอ เรื่อง ก๊าซธรรมชาติ

4. การวัดและการประเมินผล โดยใช้เกณฑ์รูบริก  ครูประเมินความรู้ ความจำ การสังเกต  สอบวัดความเข้าใจจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน

สิ่งที่ต้องการวัด สิ่งที่วัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
 พุทธิพิสัย : ขั้นที่ 1 ความรู้ความจำ ความสามารถในการจดจำสิ่งที่เรียนมาแล้ว อาจเป็นข้อมูลง่ายๆจนถึงทฤษฎี  การบอกแหล่งการผลิตก๊าซธรรมชาติได้ คำถาม ตอบถูก 3 ข้อขึ้นไปถือว่า ผ่านเกณฑ์
พุทธิพิสัย : ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ ความสามารถในการจับใจความการแปลความหมาย การสรุปหรือขยายความ  การอธิบายการนำเอาก๊าซไปใช้ผลิตไฟฟ้าได้ แบบประเมินชิ้นงาน 6  คะแนนขึ้นไป  ถือว่าผ่านเกณฑ์
 จิตพิสัย : ขั้นที่ 1 การรับรู้ การยอมรับความคิด กระบวนการ หรือสิ่งเร้าต่างๆ  การเลือกกระบวนการการนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้า แบบประเมินชิ้นงาน 6  คะแนนขึ้นไป  ถือว่าผ่านเกณฑ์
ทักษะพิสัย : ขั้นที่ 3 การปฏิบัติงานโดยอาศัยผู้แนะ/เลียนแบบการกระทำตามตัวอย่าง การลองผิดลองถูก การวาดภาพกระบวนการการนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้า แบบประเมินชิ้นงาน 6  คะแนนขึ้นไป  ถือว่าผ่านเกณฑ์

เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน

รายการประเมิน 3 2 1
การวาดรูป วาดรูปได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ วาดรูปผิดบ้างเป็นบางจุด วาดรูปผิดเป็นส่วนใหญ่
ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบได้สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ออกแบบได้ค่อนข้างสวยงามไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อย ออกแบบไม่สวยงามไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย
ระบุชื่อในภาพวาด ระบุได้ถูกต้องทุกจุด ระบุผิดบ้างบางจุด ระบุผิดเป็นส่วนใหญ่
การทำงานเป็นทีม ให้ความร่วมมือกัน

ทุกคน

ให้ความร่วมมือบางคน ไม่ให้ความร่วมมือ

เป็นส่วนใหญ่

เกณฑ์การให้คะแนน

คะแนน         9-12       ดีมาก

คะแนน          5-8        ดี

คะแนน          0-4        พอใช้

 

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้  เมื่อนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน  อยากรู้อยากเรียน เกิดความสนุกสนาน และฝึกการทำงานเป็นกลุ่มได้เป็นอย่างดี  ปัญหาที่พบในการเรียนการสอนครั้งนี้พบว่า  แท็ปเล็ต แบตเตอรี่หมดเร็วทำให้ผู้เรียนใช้งานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสอนในชั่วโมงที่ 3  และการจัดการเรียนการสอนมีขีดจำกัดคือ ระยะเวลาที่จำกัดเพียง 1 ชั่วโมง ครูจึงต้องกำหนดตารางเวลาให้กระชับเพื่อสามารถที่จะจัดการเรียนการสอนได้ครบตามที่กำหนด

15027432_1153915951344657_4131579449773128958_n 15027413_1153915584678027_2440732675912201966_n 14962563_1153919878010931_1583050893944842443_n 14947823_1153915761344676_3471761128300194022_n 14915717_1153915494678036_8212960134655869129_n 14906867_1153915588011360_7481079579396517897_n

6. ผลงานนักเรียน

16128607_1409673969057561_93791197_n 16128774_1409674022390889_1864667210_n

                                กลุ่ม 1                                                              กลุ่ม 2

16144144_1409674009057557_426834047_n 16144285_1409674025724222_862400919_n

                                  กลุ่ม 3                                                               กลุ่ม 4

16144733_1409673965724228_330668292_n 16176314_1409673989057559_158822740_n

                                   กลุ่ม 5                                                                กลุ่ม 6

 

16176471_1409674015724223_499315985_n 16176976_1409673985724226_660511177_n

                                    กลุ่ม 7                                                                 กลุ่ม 8

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

  • นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

ชื่อ-นามสกุล   นางสาว กํญญณัฐ   แสงมณี    นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ  ครุศาสตร์    หมายเลขโทรศัพท์    082-5070675   e-mail    Kanya_nat21@hotmail.com

ชื่อ-นามสกุล   นางสาว วรรณภรณ์  บัวสำลี     นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ   ครุศาสตร์    หมายเลขโทรศัพท์   087-5274572   e-mail    ploy.l.o.v.e@hotmail.com

ชื่อ-นามสกุล   นางสาว วรรณภา    กล่อมแก้ว  นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะ   ครุศาสตร์    หมายเลขโทรศัพท์   095-7746570   e-mail    pkpk.chch@gmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุล    อาจารย์ อรพรรณ   ธนะขว้าง

หมายเลขโทรศัพท์    084-8864905

e-mail    Orrapun.t@gmail.com