2-01บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น วิชาสื่อและนวัตกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4

 

 

การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที (PBL using ICT) เรื่อง บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น วิชาสื่อและนวัตกรรมการสอนวิทยาศาสตร์

ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4

1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

1.1 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสื่อการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้เครื่องมือดิจิทัล และข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้

1.2. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกสำรวจ สังเกต ตั้งคำถาม ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จากแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

1.3  เพื่อให้ผู้เรียนถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเพื่ออธิบายและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ

1.4 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจจริยธรรม การใช้ไอซีที และทรัพยากรการเรียนรู้อื่นๆ

2.กิจกรรม (Activities)

2.1 ปฐมนิเทศนักศึกษา โดยอาจารย์ได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ

– ระบบการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (PBL)ในกระบวนการเรียนการสอน

– แนะนำแหล่งเรียนรู้ นำเสนอเอกสาร ที่ใช้ในการเรียนการสอน  และคุณธรรมจริยธรรมของการใช้ไอซีที

–  การใช้ Google classroom ในการเรียนการสอน  การส่งงาน ทบทวนบทเรียนนอกเวลา

เพื่อนำไปศึกษามาล่วงหน้าพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

2.2 อาจารย์ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม โดยให้ผู้เรียนได้สืบเสาะหาข้อมูล สังเกต วิเคราะห์ ข้อมูล จากแหล่งการเรียนรู้สามพันโบกและบ้านผาชัน (แหล่งสถานการณ์ที่ตั้งขึ้น)  เพื่อนำมาสร้างสื่อการเรียนรู้ บทเรียนวิทยาศาสตร์   พร้อมทั้งจดบันทึกและถ่ายภาพจากแหล่งเรียนรู้

2.3 ระหว่างการสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล อาจารย์จะกระตุ้นผู้เรียนด้วยการตั้งคำถาม เช่น

–  ผู้เรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง

–  เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

–  กลุ่มเราควรหาข้อมูลอะไรเพิ่มเติมจากสิ่งที่เห็น

– มีหลักการหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เรื่องใดบ้างที่อธิบายสิ่งที่เราสังเกตเห็น

2.4 อาจารย์และผู้เรียนร่วมกันอภิปรายถึงเนื้อหา ความถูกต้องของทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์ และเรื่องราวใน Story board ที่แต่ละกลุ่มร่างขึ้นก่อนเป็นบทเรียนออนไลน์  พร้อมทั้งแก้ไขเนื้อหาให้เหมาะสมร่วมกัน  พร้อมทั้งให้คำปรึกษา และติดตามงานผ่านทาง Google classroom เมื่อผู้เรียนมีข้อสงสัยนอกชั้นเรียน

2.5.  กลุ่มร่วมมือของนักศึกษาร่วมกันคิดร่วมทำ  (brain storm)  สร้างบทเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยตัวของผู้เรียนเองในชั้นเรียนโดยใช้เครื่องมือดิจิทัลคือ  Edpuzzle.com  โดยมีอาจารย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลในการนำภาพ ดนตรี ที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และการอ้างอิงแหล่งที่มาในการนำข้อมูลผู้อื่น มาใช้ในการทำชิ้นงานของกลุ่มผู้เรียน

2.6  กลุ่มผู้เรียนนำเสนอบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นที่จัดทำขึ้น  พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสะท้อนคิดเกี่ยวกับชิ้นงาน กิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน

 

  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
     -Google Classroom                                                                                                                               – Edpuzzle.com                                                                                                                                        -www.Youtube                                                                                                                                       – กล้องถ่ายรูป                                                                                                                                             -โทรศัพท์มือถือ

4. การวัดและการประเมินผล
           ประเมินภาระงานและชิ้นงานเป็นระยะ ด้วยตนเอง กลุ่มเพื่อน และอาจารย์ โดยใช้เกณฑ์รูบริก

5.บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
จากการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้ค้นค้นหาคำตอบด้วยตนเอง สังเคราะห์ วิเคราะห์ ค้นหาข้อมูลใหม่ ถ่ายโยงความคิดและปรับความคิด มีการเน้นสิ่งที่ผู้เรียนได้ค้นพบ  สามารถนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ในการทำสื่อการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี  ทำให้ผู้เรียนสนุก ผู้เรียนเกิดทักษะและสมรรถนะที่พึงประสงค์

  1. ข้อมูล เพิ่มเติม. 
  2. image image

ผลงานนักศึกษา

https://edpuzzle.com/media/56cedcd1b84b606d31400147

 

  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน  อาจารย์ชนารักษ์ เวชสวัสดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป                                             คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  2. โทร.0885811951                                                                          e-mail: chanarak.v@ubru.ac.th