TH  |  EN

มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ในโครงการฝึกถอดความเสียงพูด เพื่อพัฒนาทักษะด้านการถอดความเสียงพูดแก่ผู้ต้องขัง

      มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. และทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง ธัญบุรี (คลองห้า) จัดทำ “โครงการฝึกถอดความเสียงพูด เพื่อพัฒนาทักษะด้านการถอดความเสียงพูดแก่ผู้ต้องขัง” ภายใต้โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาผู้ต้องขัง เพื่อเตรียมบุคลากรรองรับงานถอดความเสียงพูดจากรายการโทรทัศน์และสื่อการเรียนการสอน ที่จะต้องมีคำบรรยายแทนเสียงแบบเปิด-ปิดได้ ซึ่งจะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์ได้ในปี พ.ศ. 2565 A-MED สวทช. ได้ดำเนินการจ้างทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง ธัญบุรี (คลองห้า) ในการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงประกอบวิดีโอบันทึกการเรียนการสอน โดยทางทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิงได้คัดเลือกผู้ต้องขังเพิ่มเติม จำนวน 10 คน ที่ต้องการพัฒนาความสามารถในการถอดความเสียงพูด เพื่อให้มีผู้ต้องขังเพียงพอต่อการรองรับการจ้างงานดังกล่าว มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และศูนย์วิจัย เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ เพื่อบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว จำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย จอภาพ เคส เมาส์ คีย์บอร์ด ที่ได้ติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็นในการทำงานถอดความเสียงพูดแล้วเพื่อไว้ใช้งานในเรือนจำโดยวันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.30-14.30 … Read more

ค่ายอิคคิวซัง 2 ประจำปีการศึกษา 2565 “พิชิตปัญหาการทำโครงงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้ไอซีที”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดให้มีการอบรม “ค่ายอิคคิวซัง 2 ปีการศึกษา2565 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานสำหรับทำโครงงานแก่โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาคเหนือ วันเสาร์ที่ 17 – วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565 ณ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดน่าน, แพร่, พะเยา และลำปาง จากโรงเรียน 9 แห่ง มีสามเณรและครูเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 80 รูป/คน มีอาจารย์และนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ช่วยในการจัดค่ายและให้คำปรึกษาแก่ครูและนักเรียน ประมาณ 15 คน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมภาษา Logo ควบคุม Gogo Board สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการทำโครงงานและสามารถจัดทำข้อเสนอโครงงานที่นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนหรือชุมชนในประเด็นที่กำหนดได้

ค่าย 2 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D Printer ณ โรงแรมญันนะตีย์ จ.สงขลา

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้ดำเนินกิจกรรม “ค่ายสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติด้วย 3D Printer” ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้าน อิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำโครงงานหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำโครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 จำนวน 3 ค่ายต่อเนื่อง แล้วจัดให้มีกิจกรรม Show & Share เป็นประจำทุกปีพร้อมทั้ง ส่งเสริมให้นักเรียนส่งโครงงานเข้าร่วมประกวดในเวทีต่าง ๆ และผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาต่ออุดมศึกษาในโควตาพิเศษ ฝ่ายเลขานุการฯ กำหนดจัดการอบรมเชิงปฎิบัติการ “ค่าย 2 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว และสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D Printer” ปีที่ 9 ประจำปีการศึกษา 2565 ให้แก่ครูและนักเรียนจากโรงเรียน ทสรช. ในพื้นที่ภาคใต้ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในการอบรมครั้งนี้ในรูปแบบ Onsite ในวันที่ 23 – 25 กันยายน 2565 … Read more

กิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)”

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดกิจกรรม “คลีนิคโครงงาน และการนำเสนอผลงาน (ผ่านระบบออนไลน์)” ในวันที่ 29 กันยายน 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุน ให้ความรู้เพิ่มเติมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงานจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านอาหารและครูที่ปรึกษาโครงงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ในโครงการบ่มเพาะเยาวชนในชนบทให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ด้านนวัตกรรมอาหาร กิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้ารวมกิจกรรม 86 คน (ครู 24 คน , นักเรียน 62 คน)

โครงการการคัดเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีปิดการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ครั้งที่ 67 และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีปิดการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ครั้งที่ 67 และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ 30 มิถุนายน 2560 : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีปิดงานประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ครั้งที่ 67 ค.ศ. 2017 ณ เมืองลินเดา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ได้รับรางวัลโนเบลกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ โดยเชิญผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Laureate) นักศึกษา และนักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย ประมาณ 70 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการประชุม โดยทรงร่วมฟังการเสวนาหัวข้อ “จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์” (Ethics in Sciences) จากนั้น ได้ทรงเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการสนับสนุนผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ครั้งที่ 4 ระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ดร. ณรงค์ … Read more

โครงการความสัมพันธ์ไทย-เซิร์นตามพระราชดำริ ฯ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

เซิร์น เป็นชื่อย่อที่มาจากอักษรตัวแรกของชื่อเต็มที่เป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (CERN) หรือเป็นภาษาอังกฤษว่า European Council for Nuclear Research แปลเป็นไทยว่า ที่ประชุมแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ โดยในปี พ.ศ. 2492 ลูอิส เดอ บรอยล์ (Louis de Broglie) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสได้เสนอแนวความคิดริเริ่มของการก่อตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยแห่งยุโรป และในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการลงนามร่วมกันจัดตั้งอย่างเป็นทางการโดย 11 ประเทศในยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นองค์กรระหว่างประเทศในยุโรปเพื่อการวิจัยฟิสิกส์พื้นฐานระดับโลก เซิร์นตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ครอบคลุมพื้นที่บริเวณชายแดนระหว่าง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส อ่านต่อ

โครงการความร่วมมือกับจูลิช (Jülich) ตามพระราชดำริฯ

        ศูนย์วิจัยจูลิช (Jülich Research Center) เป็นสมาชิกของสมาคมเฮ็ล์มโฮล์ท (Helmholtz Association) ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและเป็นศูนย์วิจัยหลากสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งเมื่อ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1956 โดยมลรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเหนือ (North Rhine-Westphalia) ก่อนที่จะกลายไปเป็นศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1967 มีงานวิจัย 4 สาขาได้แก่ สุขภาพ สารสนเทศ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน งบประมาณประจำปีราว 705 ล้านยูโร (ค.ศ. 2018) งบประมาณจากรัฐแบ่งออกเป็น ร้อยละ 90 จากรัฐบาลกลาง และ ร้อยละ 10 จากมลรัฐไรน์-เวสต์ฟาเลียเหนือมีบุคลากรมากกว่า 6,000 คน (ค.ศ. 2018) อ่านต่อ