TH  |  EN

อบรมเชิงปฏิบัติการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (ระดับปฐมวัย) เรื่อง น้ำ

อบรมเชิงปฏิบัติการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (ระดับปฐมวัย) เรื่อง น้ำ      มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สวทช. และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (ระดับปฐมวัย) ครั้งที่ 1 เรื่อง น้ำ ระหว่างวันที่ 6 – 7 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุม 68-302 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาครูด้านเทคนิคการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้ฝึกการสังเกต รู้จักคิด ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และฝึกปฏิบัติจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เรื่องน้ำ เช่น กิจกรรมหมุดลอยน้ำ กิจกรรมไหลแรงหรือค่อย กิจกรรมหลอดดำน้ำ เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวมีครูเข้าอบรม 37 คน จาก 13 โรงเรียน โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ชนกพร ธระกุลและคณะ จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ร่วมเป็นคณะวิทยากรในการจัดอบรมดังกล่าว

บทความพิเศษ : เนื่องในโอกาส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งที่ 50

บทความพิเศษ : เนื่องในโอกาส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งที่ 50 ระหว่างวันที่ 1-6 พฤษภาคม 2023      ในฐานะเป็นองค์อุปถัมภ์ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไทย-จีน อันสร้างคุณูปการแก่ทั้งสองประเทศ โอกาสนี้ ทาง China Media Group ( CMG ) ภาคภาษาไทย ได้สัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และอดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( กระทรวง อว.ในปัจจุบัน ) และขออนุญาตนำบทความที่น่าสนใจจากการสัมภาษณ์ครั้งนี้มาเผยแพร่     ผู้สื่อข่าวถามว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงอุปถัมภ์ความสัมพันธ์ไทย-จีนมาตลอดกว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นคือโครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ได้เล่าตัวอย่างโครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ไทย-จีน ที่พระองค์ทรงอุปถัมภ์ ตามพระราชดำริฯ นับตั้งแต่ค.ศ. … Read more

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับทุนไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ (ค.ศ. ๒๐๒๒) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ

    ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับทุนไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ    ตามที่มีประกาศมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕ เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (Singapore University of Technology and Design : SUTD) สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖ (ค.ศ. ๒๐๒๓) ระดับปริญญาเอก หลักสูตรภาษาอังกฤษ ประกาศมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เรื่อง ขยายเวลารับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนการศึกษาไปศึกษาวิชา … Read more

โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น เช่น CERN School Thailand (ระดับปริญญาโท-เอก) และ Thailand Experimental Particle Physics Novice Workshop (ระดับปริญญาตรี)

โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น     เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านฟิสิกส์อนุภาค ผ่านการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น ได้แก่ โครงการ CERN School Thailand      เป็นโครงการจัดการประชุมที่ดำเนินการจัดขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิต นักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา คณาจารย์ และนักวิจัย เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาค และเครื่องตรวจวัดอนุภาค รวมถึงรวบรวมนักวิจัยที่ทำงานเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาคในประเทศไทยเพื่อรวมตัวกันเป็น particle physics consortium อ่านต่อ  

โครงการส่งเสริมนักศึกษาปริญญาโท-เอก นักวิจัยไปทำงานวิจัย ณ เซิร์น และพัฒนาให้เกิดการทำวิจัยร่วมกับเซิร์น

โครงการส่งเสริมนักศึกษาปริญญาโท-เอก นักวิจัยไปทำงานวิจัย ณ เซิร์น และพัฒนาให้เกิดการทำวิจัยร่วมกับเซิร์น เป็นโครงการร่วมมือวิจัยโดยการส่งนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก หรือนักวิจัยเข้าร่วมทำงานวิจัย ฝึกฝน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยในกลุ่มการทดลอง CMS เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยไทยไปสู่ระดับนานาชาติ และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้กลับมาสู่ประเทศไทย ปัจจุบันได้ส่งนักวิจัยจำนวน 2 คน คือ ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ และ Dr. Emanuele Simili จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปทำงานวิจัย ณ เซิร์น อ่านต่อ