TH  |  EN

ประกาศรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน ประกาศรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ประกาศรับสมัครนักศึกษาประจำปี 2566 ขอเชิญสมัครเข้าร่วมโครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเซิร์น (CERN Summer Student Program) ณ สมาพันธรัฐสวิส 2. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนเดซี (DESY Summer Student Program) ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 3. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนจีเอสไอ (GSI/FAIR Summer Student Program) ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 4. โครงการนักศึกษาภาคฤดูร้อนไอซ์คิวบ์ (Icecube Summer Student Program) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันวิจัยระดับโลก 4 แห่งเปิดโอกาสให้ประเทศไทยคัดเลือกนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าร่วมค่ายภาคฤดูร้อน ให้ได้มีโอกาสเข้าร่วมทำงานวิจัยกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูง และวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://www.nstda.or.th/desy/desy-4/index.php รับสมัครตั้งแต่ บัดนี้ – 30 พฤศจิกายน 2566

นักศึกษาที่ได้รับพระราชทานทุนเข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบันจีเอสไอ/แฟร์ (GSI/FAIR) ประจำปี 2562 เข้าเฝ้า ฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กราบถวายบังคมลา เพื่อเดินทางไปเข้าร่วมโครงการฯ

นักศึกษาที่ได้รับพระราชทานทุนเข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบันจีเอสไอ/แฟร์ (GSI/FAIR) ประจำปี 2562 เข้าเฝ้า ฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กราบถวายบังคมลา เพื่อเดินทางไปเข้าร่วมโครงการฯ         เวลา 15.30 น. ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จลง ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ กรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำคณะครู นิสิต นักศึกษา ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการภาคฤดูร้อนของสถาบันเซิร์น เดซี และจีเอสไอ ประจำปี 2562 กราบถวายบังคมลา ก่อนออกเดินทาง ในการนี้ คณะกรรมการคัดเลือก พร้อมด้วยผู้ปกครองของนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการโครงการฯ … Read more

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI

ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ GSI     การเดินทางไปฝึกทำวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์ จำนวน 1 คน ได้แก่ นายพิทยา อภิวัฒนกุล นักศึกษา ป.ตรี โครงการ พสวท. สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม. เชียงใหม่การเข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ PANDA collaboration meeting 2019 และการลงนาม MoU ดร.สาคร ริมแจ่ม ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ PANDA collaboration meeting ณ โรงแรมดิวาน่า พลาซ่า จังหวัดกระบี่ ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกับ GSI/FAIR   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีช่วยดำเนินการประสานงาน ดังนี้    1) วันที่ 16 – 17 … Read more

ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ GSI /FAIR

ความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (สซ.) กับ GSI /FAIR      PANDA (antiProton ANnihilations at DArmstadt) สร้างขึ้นเพื่อให้แอนติโปรตอนชนกับเป้าอยู่กับที่ (ได้แก่ โปรตอนในเบื้องต้นและธาตุอื่นในอนาคต) ทำให้เกิดจากการชนนี้ สถานีแพนดาจากหน่วยตรวจวัด ช่วยจำแนกชนิดและพลังงานของอนุภาคที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับแรงอ่อน แรงเข้ม สถานะแปลกใหม่ (exotic states) ของสสารและโครงสร้างฮาดร็อน ความร่วมมือแพนดาประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ 500 คน จาก 20 ประเทศที่จะรวมกันดำเนินการวิจัยข้างต้น การผลิตลำแอนติโปรตอนนั้นเริ่มจากการผลิตโปรตอนด้วยเครื่องเร่งโปรตอนเชิงเส้น p-LINAC จนได้พลังงานประมาณ 70 MeV แล้วจึงส่งไปเร่งเพิ่มขึ้นโดยเครื่องซินโครตรอน SIS18 และ SIS100 จากนั้นโปรตอนจะถูกส่งชนเป้า (ซึ่งประกอบด้วยธาตุนิเกิลและทองแดง) เพื่อผลิตแอนติโปรตอน ซึ่งแอนติโปรตอนที่เกิดขึ้นจะมีโมเมนตัมสูงสุดถึง 15 GeV/c ถูกส่งไปยังวงแหวนกักเก็บ HESR (High Energy Storage Ring)และ CR เพื่อนำไปใช้งานต่อไป ที่ด้านหนึ่งของวงแหวาน HESR … Read more

ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย   ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเนื้อหาโดย ผศ. นพ.ชลเกียรติ ขอประเสริฐศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย การรักษาด้วยรังสีนั้น ถือเป็นหนึ่งในการรักษาหลักที่สำคัญ และมีการพัฒนาเทคนิคมาอย่างต่อเนื่อง จากรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ รังสีแกมมาจากแร่โคบอลต์ จนมาถึงรังสีเอกซ์พลังงานสูงด้วยเทคนิคต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ให้รังสีปริมาณสูงที่ก้อนมะเร็ง และลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติข้างเคียงให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มอัตราการหายขาดจากโรค ในขณะเดียวกันลดผลข้างเคียงจากการรักษา ผู้ป่วยจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว การใช้อนุภาคโปรตอน ถือเป็นความก้าวหน้าไปอีกขั้น และเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยองค์อุปนายิกา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชประสงค์ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยแก่ทุกชนชั้น ทุกเพศ ทุกวัย และทุกโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กและผู้สูงอายุ ให้หายจากโรคภัย มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นเนื่องในวโรกาสมหามงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ … Read more